สวัสดีวันเสาร์ช่วงเย็นๆ แบบนี้นะครับ วันนี้ก็มาพบกับ Mr.เสาเข็ม กันอีกแล้ว วันนี้ก็มีความรู้ดีดีเกี่ยวกับการก่อสร้างมาฝากอีกเช่นเคย วันนี้จะเป็นเรื่อง การวิเคราะห์แรงกระทำทางด้านข้างแก่โครงสร้างของอาคารอันเนื่องมาจากแรงลม
เราสามารถที่จะจำแนกวิธีในการคำนวณแรงลมที่กระทำต่ออาคารออกได้เป็น 3 วิธีใหญ่ๆ คือ
(1) วิธีการอย่างง่าย (SIMPLIFIED PROCEDURE)
(2) วิธีการอย่างละเอียด (DETAILED PROCEDURE)
(3) วิธีการทดสอบในอุโมงค์ลม (WIND TUNNEL PROCEDURE)
เราจะมาดูรายละเอียดและวิธีในการเลือกใช้งานวิธีในการคำนวณแรงลมแต่ละวิธีการไปด้วยกันนะครับ
(1) วิธีการอย่างง่าย (SIMPLE PRCEDURE)
เราสามารถใช้วิธีการนี้ในการออกแบบระบบโครงสร้างหลักต้านทานแรงลมในอาคารที่มีลักษณะค่อนข้าง เตี้ย และ อาคารสูงปานกลาง ที่มีความสูงไม่มากกว่า 80 M หรือ มีสัดส่วนของความสูงไม่เกิน 3 เท่าของความกว้างประสิทธิผลที่น้อยที่สุดนะครับ โดยจะยกเว้น สำหรับอาคารที่มีความเสี่ยงต่อการสั่นไหวได้ง่ายนะครับ เช่น อาคารที่มีน้ำหนักค่อนข้างเบา อาคารที่มีค่าความถี่ธรรมชาติต่ำ และ อาคารที่มีคุณสมบัติความหน่วงของอาคารต่ำ เป็นต้นครับ สำหรับระบบผนังภายนอกก็เช่นกันนะครับ เราสามารถนำวิธีการนี้ไปใช้สำหรับการออกแบบระบบผนังภายนอก หรือ CLADDING ของอาคารที่มีรูปทรงไม่สลับซับซ้อนทุกประเภทได้นะครับ
(2) วิธีการอย่างละเอียด (DETAIL PROCEDURE)
เราสามารถใช้วิธีการนี้ในการออกแบบระบบโครงสร้างหลักต้านทานแรงลมในอาคารที่มีลักษณะที่เป็นอาคารสูง ที่มีความสูงมากกว่า 80 M หรือ มีสัดส่วนของความสูงเกิน 3 เท่าของความกว้างประสิทธิผลที่น้อยที่สุดนะครับ โดยเราจะอาศัยวิธีการนี้สำหรับการออกแบบอาคารที่มีความเสี่ยงต่อการสั่นไหวได้ง่ายนะครับ เช่น อาคารที่มีน้ำหนักค่อนข้างเบา และ อาคารที่มีค่าความถี่ธรรมชาติต่ำ และ อาคารที่มีคุณสมบัติความหน่วงของอาคารต่ำ เป็นต้นครับ
(3) วิธีการทดสอบในอุโมงค์ลม (WIND TUNNEL PROCEDURE)
เราจะอาศัยวิธีการนี้ในการออกแบบระบบโครงสร้างหลักต้านทานแรงลมในอาคารที่มีลักษณะเป็นอาคารสูงที่มีรูปทรงค่อนข้างที่จะซับซ้อน หรือ อาคารที่ตั้งอยู่ในสภาพภูมิประเทศที่มีอาคารสูงกระจุกตัวอยู่อย่างหนาแน่น หรือ โครงสร้างสะพานที่มีช่วงยาว สะพานขึง สะพานแขวน และ หลังคาที่มีขนาดใหญ่มากๆ เป็นต้น สรุป โดยมากแล้วเราจะใช้วิธีการนี้ก็ต่อเมือเราไม่สามารถอาศัยวิธีการอย่างละเอียดได้นะครับ หรือ ในกรณีที่เราต้องการความถูกต้องในการคำนวณค่าแรงลมสูงนั่นเองครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1493252657387521
BSP-Bhumisiam
ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
2) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand
รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
6) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449