การวิบัติแบบมีความเหนียว หรือ DUCTILE FAILURE และ จุดหมุนพลาสติก หรือ PLASTIC HINGES

การวิบัติแบบมีความเหนียว หรือ DUCTILE FAILURE และ จุดหมุนพลาสติก หรือ PLASTIC HINGES

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

เนื่องจากในช่วยปลายของสัปดาห์นี้ไปจนถึงช่วงปลายๆ ของสัปดาห์หน้า แอดมินมีกำหนดการที่จะต้องเดินทางไป ณ ประเทศไต้หวัน เพื่อไปนำเสนอผลงานการทำงานวิจัยในระดับ ป เอก ที่กำลังศึกษาอยู่ ทางแอดมินจึงอยากจะขออนุญาตเพื่อนๆ ทุกคนทำการปรับเปลี่ยนผังและแผนของการโพสต์สักเล็กน้อย ทั้งนี้ก็เพื่อให้แอดมินนั้นสะดวกและเราเราก็ยังจะได้สามารถพบกันได้ในทุกๆ วันเหมือนเช่นเคยได้นั่นเองครับ

หลังจากงานประชุมผมได้มีโอกาสเดินทางไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ มากมายในไทเป ซึ่งแต่ละสถานที่ต้องขอบอกเอาไว้เลยว่ามีความน่าประทับใจมากๆ เพราะเรื่องแผ่นดินไหวในบ้านเมืองเค้าเป็นปัญหาใหญ่มากๆ เค้าจึงกล้าที่จะทุ่มงบประมาณมหาศาลให้กับการศึกษาและวิจัยในเรื่องๆ นี้โดยไม่ลังเล ยังไงหลังจากที่ผมกลับจากไต้หวันแล้ว ผมจะขออนุญาตทยอยนำเอาเรื่องราวต่างๆ ที่มีความน่าสนใจๆ เหล่านี้มาเล่าสู่กันฟังแก่เพื่อนๆ ทุกๆ คนนะครับ

สำหรับวันนี้ผมจะขอนำเรื่องราวเรื่องหนึ่งที่เป็นประสบการณ์ที่ผมได้รับในการไปเยือนไต้หวันในครั้งนี้มาเล่าสู่กันฟัง นั่นก็คือเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นตอนที่ผมกำลังเดินทางกลับเข้าโรงแรมที่พัก ก่อนที่จะถึงโรงแรมประมาณสัก 1 กิโลเมตร ผมได้เดินผ่านสถานที่ก่อสร้างแห่งหนึ่ง โดยที่ผมพยายามที่จะมองเข้าไปและได้มองเห็นรายละเอียดหลายๆ อย่างในโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กก็พบว่า งานวิศวกรรมโครงสร้างของเค้าได้รับการก่อสร้างเป็นไปตามข้อกำหนดในเรื่องอาคารต้านทานแรงกระทำจากแผ่นดินไหวจริงๆ และหนึ่งในรายละเอียดเหล่านั้นก็คือหัวข้อของการพูดคุยกันในวันนี้นั่นก็คือการใส่เหล็กปลอกเข้าไปในจุดต่อระหว่างคานและเสานั่นเองครับ

ก่อนอื่นผมต้องขอให้เพื่อนๆ ดูจากรูปประกอบรูปที่ 1 ก่อน ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงวิธีการทำงานในทั้งสองรูปแบบ โดยที่รูปแบบแรกก็คือ รูปทางด้านบนซึ่งเป็นรายละเอียดของการทำงานสำหรับกรณีที่โครงสร้างนั้นมีลักษณะเป็นแบบทั่วๆ ไป ก็จะสามารถเห็นได้ว่าเหล็กปลอกของเสาที่อยู่ภายในจุดต่อระหว่างคานและเสานั้นไม่มีข้อกำหนดใดๆ ว่าจะต้องใส่เข้าไป แต่พอมาถึงรูปทางด้านล่างบ้างซึ่งเป็นรายละเอียดของการทำงานสำหรับกรณีที่โครงสร้างต้องรับแรงกระทำจากแผ่นดินไหว ก็จะสามารถเห็นได้ว่าเหล็กปลอกของเสาที่อยู่ภายในจุดต่อระหว่างคานและเสานั้นมีข้อกำหนดว่าจำเป็นที่จะต้องใส่เข้าไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย

หากเลื่อนไปดูรูปที่ 2 เพื่อนๆ ก็จะเห็นตัวอย่างของการทำงานรายละเอียดของเหล็กเสริมที่อยู่ภายในจุดต่อระหว่างคานและเสาที่ทางสถาบันวิศวกรรมแผ่นดินไหวของไต้หวันได้ทำขึ้นเพื่อให้นักศึกษาและประชาชนทั่วๆ ไปได้ดูกัน ก็จะเห็นได้เช่นกันนะครับว่าเหล็กปลอกของเสาที่อยู่ภายในจุดต่อระหว่างคานและเสานั้นจะถูกกำหนดให้มีการใช้งานอยู่อย่างหนาแน่นเลย

ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าเมื่อมีแรงกระทำอันเนื่องมาจากแผ่นดินไหวเข้ามากระทำกับโครงสร้างที่มีระบบเป็นโครงข้อแข็งที่เป็นคาน-เสา เราจะทำการกำหนดให้คานนั้นเป็นองค์อาคารที่ทำหน้าที่ในการสลายพลังงานที่เกิดเนื่องจากแผ่นดินไหว ดังนั้นเราจึงอาจจะสามารถพบความเสียหายอันเนื่องมาจากการเกิดการครากของเหล็กเสริมที่บริเวณจุดต่อระหว่างคานและเสาได้ โดยที่บริเวณจุดต่อที่จะเกิดการวิบัติดังกล่าวนี้ เราจะมีชื่อเรียกรูปแบบของการวิบัติแบบนี้ว่า การวิบัติแบบมีความเหนียว หรือ DUCTILE FAILURE หรือที่พวกเรานิยมเรียกผลลัพธ์จากการเกิดการวิบัติแบบนี้ว่า จุดหมุนพลาสติก หรือ PLASTIC HINGES ดังนั้นหากเราสามารถที่จะทำการควบคุมให้คานในโครงสร้างของเรานั้นพัฒนากำลังไปจนถึงจุดครากได้ก่อนการที่รูปแบบของการวิบัติแบบอื่นๆ จะเกิดขึ้นในโครงสร้างคานหรืออาจจะเกิดขึ้นในโครงสร้างอื่นๆ นั่นก็จะทำให้ระบบโครงสร้างของเรานั้นจะเกิดภาระต่างๆ ตามมาอย่างมากมาย เช่น จุดต่อระหว่างคานและเสาของเราจะต้องรับโมเมนต์ดัดปริมาณมหาศาล ซึ่งนั่นก็จะรวมไปถึงค่ามุมหมุนที่จุดต่อๆ นี้จะต้องทำหน้าที่รับด้วย หรือ คานของเรานั้นจะเกิดค่าการเสียรูปในปริมาณมากและในที่สุดก็จะทำให้เกิดกลไกของการสลายของแรงแผ่นดินไหวได้ เป็นต้น

ปัญหาจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อคานในระบบโครงสร้างของเรานั้นไม่ได้มีพฤติกรรมเป็นไปตามที่ผมได้อธิบายไปข้างต้น โดยอาจเกิดความเสียหายในรูปแบบอื่นๆ ที่เราไม่ต้องการให้เป็น เช่น เกิดรอยร้าวอันเนื่องมาจากเฉือนขึ้นในคานจนในที่สุดทำให้คอนกรีตนั้นเกิดการกะเทาะหลุดล่อนออกมาและอาจจะสามารถเห็นเหล็กเสริมที่อยู่ภายในนั้นเกิดการเสียรูปไป เป็นต้น ดังนั้นการเสริมเหล็กในคานเพื่อที่จะให้สามารถมีกลไกในการสลายพลังงานเพื่อใช้เป็นระบบโครงสร้างที่จะทำหน้าที่ในการต้านทานแรงกระทำจากแผ่นดินไหวอย่างที่เราตั้งสมมติฐานในการออกแบบเอาไว้นั้น เราจำเป็นที่จะต้องเน้นที่การใส่เหล็กปลอกที่บริเวณจุดต่อระหว่างคานและเสานั่นเองครับ

ต่อไปผมจะเลือกนำเอาเรื่องราวอะไรที่ถือได้ว่ามีความน่าสนใจและน่าที่จะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆ มาแชร์หรือมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังอีกในขณะที่ผมอยู่ในประเทศไต้หวัน ผมก็ขอฝากให้เพื่อนๆ ทุกๆ คนนั้นช่วยกันติดตามอ่านบทความของผมได้ในวันพรุ่งนี้นะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN
Bhumisiam ภูมิสยาม
ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับการรับรองระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ตามมาตรฐาน ISO 45001:2018
2) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
4) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
5) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
6) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
7) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
8) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
9) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
10) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
11) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
 082-790-1447
 082-790-1448
 082-790-1449
 081-634-6586