เสถียรภาพของโครงสร้างของหลังคา

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน กลับมาพบกันในทุกๆ วันอังคารแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” นะครับ สืบเนื่องจากเมื่อในสองถึงสามช่วงสัปดาห์ก่อนหน้านี้ผมได้ทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเสถียรภาพของโครงสร้างของหลังคาที่ทำหน้าที่ในการป้องกันลมฝนซึ่งจะอยู่ในบริเวณส่วนด้านหลังของอาคารให้แก่เพื่อนๆ ไปว่า ถึงแม้ส่วนของโครงสร้างอาคารพวกนี้จะเป็นเพียงส่วนโครงสร้างรองไมได้เป็นส่วนของโครงสร้างหลักของอาคารก็ตามแต่หากเราใช้ระบบโครงสร้างที่ขาดซึ่งเสถียรภาพที่ดีเพียงพอหรือมีความไม่เหมาะสมใดๆ ก็แล้วแต่ นั่นอาจจะเป็นต้นเหตุของปัญหาจุกจิกต่างๆ ของการใช้งานของโครงสร้างมากมายเลยก็ได้ เช่น อาจจะเกิดการทรุดตัวของโครงสร้างจนทำให้เกิดการดึงรั้งกันของโครงสร้างทั้งสองส่วนและอาจจะส่งผลทำให้เกิดน้ำรั่วซึมลงมา โดยเริ่มจากปริมาณน้ำน้อยๆ จนกลายเป็นน้ำปริมาณมากขึ้นๆ จนในที่สุดทำให้เกิดความน่ารำคาญใจขึ้น เป็นต้น … Read More

การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดในโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน กลับมาพบกันในทุกๆ วันพุธแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ ตามที่ผมได้รับปากกับเพื่อนๆ เอาไว้ว่าในครั้งต่อไปที่เราจะมาพบกัน ผมจะขออนุญาตแสดงเป็นตัวอย่างในการคำนวณให้เพื่อนๆ ได้ดูเลยก็แล้วกัน เพื่อนๆ จะได้สามารถมองเห็นภาพออกว่าเพราะเหตุใดผมจึงได้ทำการอธิบายเอาไว้ว่า ในกรณีที่ทางผู้รับจ้างทำงานก่อสร้างนั้นมีความต้องการที่จะเปลี่ยนชั้นคุณภาพของเหล็กเสริมนั้น เราไม่สามารถที่จะอาศัยวิธีในการเทียบสัดส่วนระหว่างค่ากำลังของคอนกรีตและเหล็กเสริมโดยตรงได้ ซึ่งการเปลี่ยนจะสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อได้การทำการออกแบบชิ้นส่วนโครงสร้างนั้นๆ ใหม่เท่านั้นนะครับ เรามาดูตัวอย่างในสมการแรกก่อนเลยนั่นก็คือ สมการที่ใช้ในการคำนวณหาค่าโมดูลัสยืดหยุ่นของวัสดุคอนกรีต … Read More

ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของเสาเข็มมีผลต่อการคำนวณหาระยะห่างระหว่างโครงสร้างเสาเข็มมากที่สุด

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ ประเด็นที่ผมจะขออนุญาตหยิบยกนำเอามาพูดในวันนี้ก็คือสำหรับในกรณีของฐานรากที่มีการถ่ายน้ำหนักลงไปสู่ดินโดยการใช้โครงสร้างเสาเข็มนั้นถึงแม้ว่าเมื่อในสัปดาห์ก่อนที่ผมได้ให้คำอธิบายและทำการสรุปกับเพื่อนๆ ว่า ในเรื่องของระยะห่างระหว่างโครงสร้างเสาเข็มมากที่สุดนั้นจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดของตัวโครงสร้างเสาเข็มเหมือนกับกรณีที่เรากำลังพิจารณาในเรื่องระยะห่างระหว่างโครงสร้างเสาเข็มน้อยที่สุดแต่จะไปขึ้นอยู่กับอัตราส่วนระหว่างระยะความห่างต่อระยะความหนาแทน แต่ ก็ใช่ว่าขนาดของตัวโครงสร้างเสาเข็มนั้นจะถูกตัดออกไปโดยไม่ถูกนำเอามาพิจารณาใช้ในการคำนวณหาค่าของระยะห่างระหว่างโครงสร้างเสาเข็มมากที่สุดเสียทีเดียว เพราะเหตุใดผมจึงกล่าวเช่นนั้นครับ ?   หากเพื่อนๆ จำได้ … Read More

เหตุอาคารนั้นเกิดการวิบัติขึ้นในจังหวัดสมุทรสาคร

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน กลับมาพบกันในทุกๆ วันพุธแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ เนื่องจากเมื่อประมาณเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาได้เกิดเหตุอาคารหอพักขนาดความสูง 3 ชั้น นั้นได้เกิดการวิบัติขึ้นในจังหวัดสมุทรสาคร ทำให้ในตอนนั้นทาง วสท ซึ่งมีท่านอาจารย์ธเนศ วีระศิริ เป็นหัวหน้าคณะได้ทำการเข้าสำรวจอาคารเพื่อทำการวินิจฉัยในเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานการณ์ของการที่อาคารนั้นได้เกิดการวิบัติและผมก็ได้นำเอาข้อมูลที่เป็นข้อวินิจฉัยในเบื้องต้นรวมถึงบทความที่มีความเกี่ยวข้องกันกับเหตุการณ์ๆ นี้เอามาฝากเพื่อนๆ ไปก่อนหน้านี้ไปเป็นที่เรียบร้อย ล่าสุดในวันนี้อาคารหลังนี้ได้รับการตรวจสอบโดยละเอียดแล้ว … Read More

การต่อเติมโครงสร้างหลังคากันสาด

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน กลับมาพบกันในทุกๆ วันเสาร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ถาม-ตอบชวนสนุก” กันนะครับ   โดยที่ในวันนี้ประเด็นที่ผมได้เลือกนำเอามาตั้งเป็นคำถามประจำสัปดาห์นั้นจะมีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม ที่ผมได้ทำการโพสต์ถึงในสัปดาห์ที่ผ่านมาและก็เหมือนเช่นเคยผมคงจะต้องออกตัวอีกครั้งหนึ่งว่า คำถามประจำสัปดาห์นี้สุดแสนจะง่ายมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ โดยที่โจทย์ในวันนี้ก็คือ จากรูปที่แสดงจะเห็นได้ว่าเป็นกรณีของรูปที่แสดงด้านริมนอกสุดของตัวอาคาร โดยที่เงื่อนไขในการก่อสร้างตัวอาคารเดิมก็คือ ในโครงการก่อสร้างแห่งนี้ไม่ได้มีการดำเนินการทดสอบดินเพื่อที่จะหาคุณสมบัติต่างๆ ของดินเอาไว้เลยแต่ก็ยังถือว่าเป็นเรื่องที่ดีว่า อาคารเดิมหลังนี้ได้มีการก่อสร้างขึ้นโดยที่ใช้โครงสร้างเสาเข็มยาว … Read More

แรงภายในของโครงสร้างพื้นยื่นและวิธีในการพิจารณาออกแบบ

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน กลับมาพบกันในทุกๆ วันพุธแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ   สืบเนื่องจากเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมานั้นได้เกิดเหตุโครงสร้างกันสาดนั้นเกิดการวิบัติลงมา ซึ่งผมเชื่อเหลือเกินว่าคงจะมีเพื่อนๆ หลายๆ คนที่มีความสงสัยว่า เพราะเหตุใดหนอเจ้าโครงสร้างกันสาดนี้จึงได้วิบัติลงมาได้ เอาเป็นว่าในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาอธิบายถึงประเด็นๆ นี้ให้เพื่อนๆ ได้รับทราบไปพร้อมๆ กันแต่ก่อนอื่น ผมคงต้องขออธิบายแบบออกตัวเอาไว้ตรงนี้ก่อนว่า ผมไม่ได้จะบอกว่า … Read More

วิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ ในสัปดาห์ที่แล้วที่ผมได้ทำการอธิบายกับเพื่อนให้เข้าใจถึงเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่องค่า SPT-N ของฐานรากแบบตื้นหรือ SHALLOW FOUNDATION กับฐานรากแบบลึกหรือ DEEP FOUNDATION ว่าจะมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรไปแล้ว หลังจากนั้นก็มีน้องแฟนเพจท่านหนึ่งสอบถามเข้ามาโดยใจความของคำถามนั้นมีความต่อเนื่องจากเนื้อหาจากโพสต์ในสัปดาห์ก่อน … Read More

การคำนวณหาค่าหน่วยแรงเฉือน ตามแนวยาวเพื่อนำมาใช้ในการออก แบบหน้าตัดเชิงประกอบ

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน กลับมาพบกันในทุกๆ วันพุธแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ   ตามที่ผมได้แจ้งไปในโพสต์ครั้งที่แล้วว่าในวันนี้ผมจะขออนุญาตนำเอาตัวอย่างในการคำนวณเกี่ยวกับเรื่องหน่วยแรงเฉือนตามแนวยาว หรือ SHEAR FLOW เพื่อเป็นการทำความเข้าใจให้เห็นภาพแก่น้องวิศวกรท่านนี้รวมถึงเพื่อนๆ ทุกคนได้รับทราบรับชมกันต่อนะครับ ก่อนอื่นผมไม่ทราบจริงๆ ว่าขนาดของหน้าตัดเหล็กตัว C-LIGHT LIP ที่น้องนำมาให้ผมดูในรูปนี้มีขนาดเท่าใด … Read More

โครงสร้างเหล็กรูปพรรณที่ได้ถูกนำไปใช้ในงานวิศวกรรมโครงสร้าง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน กลับมาพบกันในทุกๆ วันอังคารแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” นะครับ   เนื่องจากเมื่อหลายสัปดาห์ก่อนหน้านี้ผมเคยได้นำเอาเรื่องชนิดของโครงสร้างเหล็กรูปพรรณมาทำการอธิบายให้กับเพื่อนๆ ได้ทำความเข้าใจกันไปแล้วว่าจะประกอบไปด้วยประเภทของเหล็กกี่ประเภท ก็มีคำถามเข้ามาจากน้องท่านหนึ่งในทำนองที่ว่า ยังไม่ค่อยเข้าใจความแตกต่างระหว่าง “โครงสร้างเหล็กเสริมที่ใช้ในงานวิศวกรรมคอนกรีตเสริมเหล็ก” กับ “โครงสร้างเหล็กรูปพรรณที่ใช้ในงานวิศวกรรมโครงสร้างเหล็ก” ผมจึงคิดว่า จะมาทำการอธิบายประเภทของเหล็กเสริมทั้ง 2 ชนิดนี้ให้แก่เพื่อนๆ … Read More

เทคนิคง่ายๆ ที่สามารถนำไปใช้ในการทำงานควบคุมงานก่อสร้างได้

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน กลับมาพบกันในทุกๆ วันพุธแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ เมื่อประมาณ 2 ถึง 3 สัปดาห์ก่อนหน้านี้ผมได้มีโอกาสพบปะและพูดคุยกับเพื่อนวิศวกรท่านหนึ่ง ซึ่งเพื่อนท่านนี้ของผมนั้นเป็นวิศวกรผู้ทำหน้าที่ในการควบคุมงานก่อสร้างเป็นหลักเลยและเราก็ได้สนทนากันในหลายๆ ประเด็น หนึ่งในประเด็นที่มีความน่าสนใจก็คือ เรื่องเทคนิคง่ายๆ ที่เพื่อนของผมท่านนี้นำมาใช้ในการทำงานควบคุมงานก่อสร้างซึ่งเค้าก็ได้สรุปออกมาสั้นๆ ออกมาเป็นทั้งหมด 5 … Read More

1 3 4 5 6 7 8 9 33