การวางตำแหน่งเสาเข็มที่มีความเหมาะสมในโครงสร้างฐานรากเดี่ยว (ISOLATED FOUNDATION) ที่ต้องใช้เสาเข็มจำนวนหลายๆ ต้น

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้เรื่องที่ผมจะนำมาฝากและมาตอบคำถามของน้องวิศวกรท่านหนึ่งที่เคยฝากคำถามผมมาสักพักใหญ่เกี่ยวกับเรื่องการวางตำแหน่งเสาเข็มที่มีความเหมาะสมในโครงสร้างฐานรากเดี่ยว (ISOLATED FOUNDATION) ที่ต้องใช้เสาเข็มจำนวนหลายๆ ต้นนะครับ จริงๆ แล้วคำถามข้อนี้ผมคิดว่าพวกเราน่าที่จะทราบกันดีอยู่แล้วนะครับว่าระยะห่างของเสาเข็มที่มีความเหมาะสมเพื่อไม่ให้เส้นแนวของแรงเค้นในเสาเข็มนั้นเกิดการซ้อนทับกัน (STRESS OVERLAPPING) คือ เท่ากับ 3 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางของเสาเข็มนะครับ แต่ สำหรับโครงสร้างฐานรากที่ต้องใช้เสาเข็มจำนวนหลายๆ ต้นหากเราใช้ระยะนี้เท่ากับ 3 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางของเสาเข็มจะทำให้ฐานรากนั้นมีขนาดใหญ่มาก … Read More

การวิเคราะห์การสั่นตัวของโครงสร้างฐานรากที่ทำหน้าที่รองรับเครื่องจักร (VIBRATION ANALYSIS IN MACHINE FOUNDATION)

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะมาตอบคำถามของน้องวิศวกรออกแบบท่านหนึ่งที่เคยได้สอบถามผมมาหลังไมค์ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับเรื่อง พลศาสตร์โครงสร้าง (STRUCTURAL DYNAMICS) นะครับ นั่นก็คือ น้องวิศวกรท่านนี้อยากที่จะให้ผมช่วยให้คำแนะนำและอธิบายเกี่ยวกับเรื่อง การวิเคราะห์การสั่นตัวของโครงสร้างฐานรากที่ทำหน้าที่รองรับเครื่องจักร (VIBRATION ANALYSIS IN MACHINE FOUNDATION) ให้หน่อยนะครับ เอาเป็นว่าผมอยากที่จะให้คำแนะนำน้องวิศวกรท่านนี้แบบนี้ก็แล้วกันนะครับ ในการวิเคราะห์การสั่นตัวของโครงสร้างฐานรากที่ทำหน้าที่รองรับเครื่องจักรนั้นผมต้องขอบอกก่อนนะครับว่า เรื่องๆ นี้เป็นเรื่องที่ทำความเข้าใจได้อย่างละเอียดแท้จริงได้ค่อนข้างที่จะยากมากๆ … Read More

หลักการของการบดอัดดิน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน ช่วงนี้ผมมีงานที่เกี่ยวข้องกับการถมดินอยู่หลายตัวเลยนะครับ และ ผมได้สังเกตและพบเห็นว่าเพื่อนร่วมงานหลายๆ คนอาจจะเคยมีข้อสงสัยว่า หากเราทำการถมดินแล้วทำการบดอัดดิน เราจะต้องทำการบดอัดดิน มาก หรือ นาน เท่าใด กว่าที่ดินของเราจะสามารถรับกำลังได้ กว่าที่ดินของเราจะมีค่าการทรุดตัวที่ถือว่าเหมาะสมต่อการรับ นน ของเรา คำตอบของคำถามข้อนี้ คือ เราก็ควรที่จะต้องทำการทดสอบดินที่เราทำการบดอัดเสียก่อนนะครับ ทั้งนี้ก็เพื่อที่เราจะสามารถทราบได้ว่าคุณสมบัติของดินนั้นเป็นอย่างไร … Read More

ความหนาที่เหมาะสมของฐานราก

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะมาแชร์ความรู้ที่สำคัญประการหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับการออกแบบฐานรากในอาคารของเราแก่เพื่อนๆ ทุกๆ คนนั่นก็คือความหนาที่เหมาะสมของฐานรากนะครับ เชื่อเหลือเกินว่าเพื่อนๆ หลายคนคงจะมีคำถามในใจว่า เหตุใดผมจึงกล่าวว่าการออกแบบขนาดความหนาของฐานรากนั้นถึงต้องมีความเหมาะสมครับ ? หากจะมองย้อนไปที่หลักการของการคำนวณฐานรากของเราก่อนนะครับ คือ เราจะตั้งสมมติฐานให้ตัวโครงสร้างของฐานรากนั้นมีสภาพความเป็น RIGID BODY หรือ พูดง่ายๆ คือ มีความแข็งแกร่งที่มาก ซึ่งด้วยเหตุผลนี้เองเมื่อเราทำการรวม นน … Read More

เนื้อหาในระดับบัณฑิตศึกษาในสาขาวิศวกรรมโครงสร้าง (STRUCTURAL ENGINEERING)

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมมีเนื้อหาเบาๆ ที่เป็นประสบการณ์ตรงส่วนตัวของผมเองมาเล่าสู่กันฟังแก่เพื่อนๆ นะครับ เพราะ ผมคิดว่าเนื้อหาในวันนี้น่าที่จะเป็นประโยชน์ และ เป็นความรู้แก่เพื่อนๆ ที่อาจจะมีความสนใจอยากจะทราบว่าเนื้อหาในระดับบัณฑิตศึกษาในสาขาวิศวกรรมโครงสร้าง (STRUCTURAL ENGINEERING) นั้นมีอะไรที่น่าจะนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานจริงๆ ได้บ้างนะครับ ก่อนอื่นผมต้องขอเรียนว่าหากใครที่ได้มีโอกาสเรียนในสาขาที่ขึ้นชื่อว่าเป็นงานวิศวกรรม (ENGINEERING) ในยุคปัจจุบัน หากว่าผม พูด หรือ เอ่ย … Read More

ความจำเป็นในการเสริมเหล็กรับแรงเฉือนในแผ่นพื้นคอนกรีตแบบไร้คาน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะมาแชร์ความรู้แก่เพื่อนๆ ในเรื่อง ความจำเป็นในการเสริมเหล็กรับแรงเฉือนในแผ่นพื้นคอนกรีตแบบไร้คาน กันนะครับ โดยปกติแล้วหากเราทำการออกแบบแผ่นพื้นคอนกรีตแบบไร้คาน เนาจำเป็นจะต้องทำการออกแบบให้กำลังของแผ่นพื้นนั้นมีค่าสูงกว่าค่า นน บรรทุกแบบเพิ่มค่าที่กระทำกับแผ่นพื้นสำหรับทุกๆ MODE OF FAILURE นะครับ หนึ่งในนั้นก็คือ TWO WAY SHEAR FAILURE หรือ … Read More

การใช้งานเครื่องคำนวณ

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขอมาแชร์ความรู้โดยการเล่าเสี้ยวหนึ่งของประสบการณ์ในการใช้งานเครื่องคำนวณให้แก่เพื่อนๆ และน้องๆ วิศวกรที่อาจจะกำลังเริ่มต้นงานการคำนวณทางด้านวิศวกรรมและอาจจะกำลังมองหาเครื่องมือหรือตัวช่วยในการคำนวณสักเครื่องอยู่นะครับ เพื่อนๆ หลายๆ คนคงจะทราบดีว่าผมนั้นใช้เครื่องคิดเลขยี่ห้อ TEXAS INSTRUMENT เป็นหลักแต่น้อยคนนักที่จะทราบว่าก่อนหน้านั้นผมเองก็เคยเป็นวิศวกรคนหนึ่งที่เคยเริ่มต้นงานคำนวณในสายงานวิศวกรรมโดยใช้เครื่องคิดเลขยี่ห้อ CASIO นะครับ ผมใช้ CASIO หลายรุ่นอยู่พักใหญ่ๆ เลยนะครับ เพราะตั้งต้นเรียนวิชาช่างก่อสร้างในระดับ ปวช เป็นใครในยุคผมก็ต้องใช้เครื่องยี่ห้อ … Read More

สัมประสิทธิ์แรงเสียดทานของวัตถุ

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน หัวข้อความรู้ที่ผมขอนำมาฝากแก่เพื่อนๆ ในวันนี้เป็นหัวข้อสั้นๆ นะครับ แต่ ผมเชื่อเหลือเกินว่าจะมีประโยชน์ในการทำงานต่อเพื่อนๆ นั่นก็คือเรื่อง สัมประสิทธิ์แรงเสียดทานของวัตถุครับ ในตารางที่ผมนำมาฝากเพื่อนๆ นี้คือ ค่าสัมประสิทธิ์ของแรงเสียดทานเมื่อผิวของวัตถุ 2 วัตถุนั้นได้มาสัมผัสกันในสภาวะสถิตย์ (STATIC FRICTIONAL COEFFICIENT) นะครับ ซึ่งค่าๆ นี้จะมีประโยชน์ในการคำนวณหรือออกแบบโครงสร้างเมื่อเราจำเป็นจะต้องทำการออกแบบ … Read More

ขั้นตอนการออกแบบฐานรากเดี่ยวแบบแผ่

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมอยากที่จะมาขอต่อการแชร์ความรู้ในเรื่องของฐานรากแบบแผ่ให้จบต่อเนื่องจากหลายๆ ครั้งที่ผมได่โพสต์ไปก่อนหน้านี่้นะครับ โดยในวันนี่้ผมอยากที่จะมาสรุปขั้นตอนการออกแบบฐานรากเดี่ยวแบบแผ่ให้แก่เพื่อนๆ ได้ทราบและทำความเข้าใจกันพอสังเขปนะครับ (1) เลือกความลึกของฐานราก: โดยความหนาน้อยที่สุดสำหรับฐานรากแผ่ก็คือ 15 CM นับจากเหล็กเสริม และ ความหนาน้อยที่สุดในทางปฏิบัติก็คือ 30 CM โดยที่ระยะหุ้มของคอนกรีตจะต้องมีค่าไม่น้อยกว่า 8 CM ถ้าหากทำการหล่อคอนกรีตบนดินโดยตรง … Read More

ระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหว

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน เนื่องจากเมื่อวันก่อนได้มีโอกาสไปให้การอบรมแก่วิศวกรโยธา ณ บริษัท ผรม เอกชนแห่งหนึ่ง ผมเห็นว่าน่าที่จะมีประโยชน์หากผมเตรียมเนื้อหาการสอนเกี่ยวกับเรื่องวิศวกรรมแผ่นดินไหวไปฝากกับน้องๆ ในโอกาสถัดไปด้วย วันนี้จึงนั่งเตรียมเนื้อหาบางส่วนไปพลางๆ ผมเห็นว่าเนื้อหาหลายๆ ส่วนน่าที่จะมีประโยชน์ จึงนำมาฝากแก่เพื่อนๆ ในวันนี้ด้วยนะครับ โดยเรื่องที่จะนำมาฝากกันในวันนี้ คือ เรื่องระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหว เมื่อเราพูดถึงวิศวกรรมแผ่นดินไหวและโฟกัสไปที่เรื่องระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหว อย่างหนึ่งที่จะผุดขึ้นมาเป็นอย่างแรกในสมองของ SEISMIC … Read More

1 19 20 21 22 23 24 25 33