เกี่ยวกับบริษัท-มาตรฐาน มอก.
มาตรฐาน มอก. ใบอนุญาตแสดง เครื่องหมาย มอก. 397-2562 ใบอนุญาตแสดง เครื่องหมาย มอก. 396-2549
หลักการออกแบบโครงสร้างรับแรงแผ่นดินไหว
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้แอดมินมีโอกาสได้พูดคุยกับเพื่อนชาวต่างชาติเกี่ยวกับเรื่องของแนวคิดในการออกแบบโครงสร้างเหล็กเพื่อใช้ต้านทานแรงกระทำจากแผ่นดินไหวในปัจจุบันและในอนาคตว่าจะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ? ผมเลยคิดว่าหากจะนำมาแชร์ให้เพื่อนๆ ได้รับทราบด้วย ก็น่าจะเป็นการดีครับ หลักการออกแบบโครงสร้างรับแรงแผ่นดินไหวในปัจจุบันใช้สมมติฐานว่าโครงสร้างมีพฤติกรรมอยู่ในช่วงเชิงเส้น กระบวนการออกแบบเริ่มต้นโดยการหาแรงเฉือนที่ฐานของอาคาร ซึ่งหาได้จากค่าสัมประสิทธิ์ผลตอบสนองแรงแผ่นดินไหว (Cs) และค่าความเร่งตอบสนองเชิงสเปคตรัมสำหรับการออกแบบที่คาบการสั่นพื้นฐานของอาคาร (Sa) โดยมีสมมติฐานที่ว่าโครงสร้างมีพฤติกรรมเป็นเชิงเส้น จากนั้นจึงลดทอนค่าแรงเฉือนด้วยค่าตัวประกอบปรับผลตอบสนอง (R) ที่แปรผันตามค่าความเหนียวของระบบโครงสร้างที่ได้สมมุติไว้ ค่าแรงเฉือนที่ฐานสำหรับการออกแบบนี้จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามระดับความสำคัญในการใช้งานของโครงสร้างอาคาร โดยใช้ตัวประกอบความสำคัญของอาคาร (I) … Read More
ประเภทของจุดต่อภายในโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน กลับมาพบกันในทุกๆ วันอังคารแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” นะครับ เนื่องจากเมื่อวันเสาร์และอาทิตย์ที่ผ่านมาผมได้ทำการตั้งคำถามประจำสัปดาห์เกี่ยวกับเรื่อง จุดต่อที่จะถ่ายแรงดัดและจุดต่อแบบกึ่งถ่ายแรงดัด ซึ่งก็มีแฟนเพจหลายๆ ท่านได้ให้ความสนใจไปมากพอสมควร ซึ่งในโพสต์ของวันอาทิตย์ที่ผมได้ทำการเฉลยคำถามก็มีแฟนเพจซึ่งเป็นคุณผู้หญิงท่านหนึ่งได้มาคอมเม้นต์ใต้โพสต์โดยที่มีใจความว่า “จากที่ผมได้ทำการอธิบายไปแสดงว่าเจ้า CONTINUITY PLATE นั้นถือได้ว่ามีความสำคัญอย่างมากกับโครงสร้างแบบนี้ใช่หรือไม่คะอาจารย์ (คือจำเป็นต้องมี) ?” ซึ่งผมก็ได้ตอบไปว่า … Read More
ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง ความสำคัญของค่าตัวคูณเพื่อหาความยาวประสิทธิผลในโครงสร้างที่ต้องทำหน้าที่ในการรับแรงอัด
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน กลับมาพบกันในทุกๆ วันจันทร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” นะครับ ตามที่ผมได้เรียนเพื่อนๆ ไปเมื่อในสัปดาห์ที่แล้วว่าวันนี้ผมจะขออนุญาตมาพูดถึงเรื่อง สมการค่าแรงอัดวิกฤติของออยเลอร์ กันต่ออีกสักหนึ่งโพสต์เพราะจริงๆ แล้วเรื่องนี้เป็นเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญมากเกี่ยวกับวิชากลศาสตร์ของวัสดุหรือ MECHANICS OF MATERIALS ซึ่งสุดท้ายแล้วเราก็จะต้องนำเอาพื้นฐานของเรื่องๆ นี้ไปต่อยอดในวิชาออกแบบต่างๆ อีกมากมายเลย เช่น … Read More