การจำแนกชิ้นส่วนโครงสร้างประเภทรับแรงดึงเพียงอย่างเดียว
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน กลับมาพบกันในทุกๆ วันเสาร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ถาม-ตอบชวนสนุก” กันนะครับ โดยที่ในวันนี้ประเด็นที่ผมได้เลือกนำเอามาตั้งเป็นคำถามประจำสัปดาห์นั้นจะมีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง ที่ผมได้ทำการโพสต์ถึงในสัปดาห์ที่ผ่านมาและก็เหมือนเช่นเคยผมคงจะต้องออกตัวอีกครั้งหนึ่งว่า คำถามประจำสัปดาห์นี้สุดแสนจะง่ายมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ โดยที่โจทย์ในวันนี้ก็คือ จากรูปโครงสร้าง A B C และ D ที่แสดงอยู่ในโพสต์ๆ … Read More
ความรู้เรื่องการหาค่าการเสียรูปในโครงสร้างคานคอนกรีตเสริมเหล็กโดยวิธีแบบละเอียด
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน กลับมาพบกันในทุกๆ วันพุธแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ ในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาพาเพื่อนๆ ไปลงรายละเอียดในรายการคำนวณการตรวจสอบหาค่าการเสียรูปภายในหน้าตัดของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กในหน้าที่ 6 ซึ่งเป็นหน้าสุดท้ายแล้ว ซึ่งก็คือรูปที่ผมได้นำเอามาประกอบคำอธิบายในวันนี้นะครับ โดยที่เนื้อหาในหน้าสุดท้ายนี้จะเป็นการคำนวณเพื่อที่จะตรวจสอบหาว่า สถานะของการเสียรูปในแนวดิ่งของโครงสร้างคานของเรานั้นเป็นเช่นใดเมื่อเราทำการพิจารณาจากค่าเกณฑ์ต่างๆ ซึ่งเป็นค่าที่ยอมให้ตามที่ได้มีการระบุเอาไว้ใน CODE ใช่หรือไม่นะครับ ก่อนอื่นหน้านี้จะเริ่มต้นจากการที่เราต้องทำการพิจารณาถึงกรณีของ การเสียรูปในระยะยาว … Read More
การคำนวณเพื่อการตรวจสอบค่าแรงเฉือนทะลุ (PUNCHING SHEAR)
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะมาตอบคำถามของเพื่อนวิศวกรที่เคยสอบถามผมมาหลังไมค์ก่อนหน้านี้ว่า “เหตุใดก่อนหน้านี้ตอนที่ผมทำการอธิบายว่าในตรวจสอบค่าแรงเฉือนทะลุ (PUNCHING SHEAR) ผมจึงได้ทำการระบุว่าให้ใช้สมการในการคำนวณหาค่าความสามารถในการรับกำลังแรงเฉือนทะลุโดยคอนกรีตเท่ากับ 1.06 ϕ √fc’ bo d เพียงสมการเดียว เพราะ เหมือนตอนที่เพื่อนท่านนี้เรียนมาจะจำได้ว่า มีหลายสมการในการตรวจสอบมากๆ รบกวนผมช่วยอธิบายประเด็นนี้หน่อยได้หรือไม่ครับ ?” ขอปรบมือรัวๆ ให้กับคำถามข้อนี้เลยนะครับ เป็นคำถามที่ดีมากๆ … Read More
ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ โดยที่ปัญหาในวันนี้ที่ผมจะนำมาหยิบยกและพูดคุยกับเพื่อนๆ นั้นมาจากรุ่นน้องของผมในเฟซบุ้คท่านหนึ่งที่ได้สอบถามผมเข้าในอินบ็อกซ์ส่วนตัวว่า “ก่อนหน้านี้เห็นว่าอาจารย์สมพรรวมถึงอาจารย์หลายๆ ท่านซึ่งก็รวมถึงผมด้วยที่มักพูดถึงเรื่องจุดรองรับแบบที่สามารถมีการเสียรูปได้หรือ FLEXIBLE SUPPORT อยากจะทราบว่าเพราะเหตุใดเราจึงจะทำการพิจารณาให้จุดรองรับนั้นเป็นจุดรองรับแบบที่ไม่มีการเสียรูปหรือ RIGID SUPPORT เลยไม่ได้ละครับ ?” จริงๆ … Read More