สภาวะของการที่โครงสร้างเสาเข็มของเรานั้นเกิดแรงดึงฉุดลง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ

ตามที่ผมได้รับปากเพื่อนๆ เอาไว้ในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่าวันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการพูดถึง วิธีในการคำนวณหาค่าของ แรงดึงฉุดลง หรือ NEGATIVE SKIN FRICTION ให้เพื่อนๆ ทุกๆ คนได้รับทราบไปพร้อมๆ กันนะครับ

โดยที่ผมจะทำการแบ่งกรณีของการคำนวณหาค่า NEGATIVE SKIN FRICTION ที่จะสามารถเกิดขึ้นได้ในโครงสร้างฐานรากแบบเสาเข็มออกได้เป็นทั้งหมด 2 กรณีหลักๆ ด้วยกันนั่นก็คือ

(1.) กรณีที่โครงสร้างฐานรากของเรานั้นมีระยะห่างกันที่ค่อนข้างที่จะมาก

หากเป็นดังเช่นกรณีนี้ เราก็จะสามารถทำการคำนวณหาค่า NEGATIVE SKIN FRICTION ที่จะสามารถเกิดขึ้นได้ในโครงสร้างฐานรากแบบเสาเข็มได้จากสมการดังต่อไปนี้นั่นก็คือ

Qnf = Np x Fnf

เมื่อค่า Np ก็คือ จำนวนของเสาเข็มในฐานรากต้นหนึ่งๆ และค่า Fnf ก็คือ ค่า NEGATIVE SKIN FRICTION FORCE ที่จะสามารถเกิดขึ้นได้ในโครงสร้างเสาเข็ม 1 ต้น โดยเราจะสามารทำการแบ่งคำนวณหาค่าๆ นี้ได้จาก 2 กรณีหลักๆ ดังต่อไปนี้

(1.1) กรณีที่ชั้นดินถมนั้นเป็น ดินเหนียว หรือ ดินทราย ก็ได้และชั้นดินที่อยู่ข้างล่างนั้นเป็น ดินทราย

สำหรับกรณีๆ นี้หากว่าชั้นดินที่อยู่ข้างล่างนั้นเป็นดินทรายอยู่แล้ว ส่วนใหญ่แล้วชั้นดินถมนั้นก็จะมีสภาพเป็นดินเหนียวหรือ ดินทรายก็ได้ ซึ่งเราจะสามารถทำการคำนวณหาค่า NEGATIVE SKIN FRICTION FORCE ของกรณีนี้ได้จาก

Fnf = Ln^(2) x P x Ko x γ x F / 2

(1.2) กรณีที่ชั้นดินถมนั้นเป็น ดินเหนียว และ ชั้นดินที่อยู่ข้างล่างเองก็ยังเป็น ดินเหนียว ด้วย

สำหรับกรณีๆ นี้หากว่าชั้นดินที่อยู่ข้างล่างนั้นเป็นดินเหนียว ส่วนใหญ่แล้วชั้นดินถมนั้นก็จะมีสภาพเป็นดินเหนียวเสียเป็นส่วนใหญ่ด้วย ซึ่งเราจะสามารถทำการคำนวณหาค่า NEGATIVE SKIN FRICTION FORCE ของกรณีนี้ได้จาก

Fnf = Ln x P x S

โดยที่ค่า Ln ก็คือ ขนาดความยาวของโครงสร้างเสาเข็มที่วางตัวอยู่ในชั้นดินที่มีโอกาสเกิด NEGATIVE SKIN FRICTION ส่วนค่า P ก็คือ เส้นรอบรูปของตัวโครงสร้างเสาเข็ม ส่วนค่า Ko ก็คือ ค่า COEFFICIENT EARTH PRESSURE ส่วนค่า γ ก็คือ ค่าหน่วยน้ำหนักของดินที่มีโอกาสเกิด NEGATIVE SKIN FRICTION ส่วนค่า F ก็คือ สัมประสิทธิ์แรงเสียดทานระหว่างโครงสร้างเสาเข็มกับดินทราย และค่า S ก็คือ ค่ากำลังรับแรงเฉือนของดินส่วนที่นำมาถมหรือชั้นดินที่เกิดการทรุดตัวนะครับ

 

(2.) กรณีที่โครงสร้างฐานรากของเรานั้นมีระยะห่างกันที่ค่อนข้างจะน้อย

หากเป็นดังเช่นกรณีนี้ เราก็จะสามารถทำการคำนวณหาค่า NEGATIVE SKIN FRICTION ที่จะสามารถเกิดขึ้นได้ในโครงสร้างฐานรากแบบเสาเข็มให้เป็นแบบ BLOCK NEGATIVE SKIN FRICTION ก็ได้ โดยสามารถจะทำการคำนวณได้จากสมการดังต่อไปนี้นั่นก็คือ

Qnf = Ln x ( S x P + γ x ∑Ap )

โดยที่ค่า Ln ก็คือ ขนาดความยาวของโครงสร้างเสาเข็มที่วางตัวอยู่ในชั้นดินที่มีโอกาสเกิด NEGATIVE SKIN FRICTION ส่วนค่า S ก็คือ ค่ากำลังรับแรงเฉือนของดินส่วนที่นำมาถมหรือชั้นดินที่เกิดการทรุดตัว ส่วนค่า P ก็คือ เส้นรอบรูปของตัวโครงสร้างเสาเข็ม ส่วนค่า γ ก็คือ ค่าหน่วยน้ำหนักของดินที่มีโอกาสเกิด NEGATIVE SKIN FRICTION และค่า ∑Ap ก็คือ พื้นที่หน้าตัดโดยรวมของเสาเข็มที่อยู่ภายในกลุ่มของพื้นที่ๆ เราใช้ในการคำนวณหาค่าของ BLOCK NEGATIVE SKIN FRICTION นะครับ

 

เอาเป็นว่าในครั้งต่อไปที่เราจะมาพบกัน ผมอยากจะขออนุญาตมาทำการยกตัวอย่างในการคำนวณเกี่ยวกับประเด็นๆ นี้ให้แก่เพื่อนๆ ทุกๆ คนได้รับทราบและรับชมกันต่อเป็นโพสต์สุดท้ายที่มีความเกี่ยวข้องกันกับประเด็นๆ นี้เนาะ โดยหากว่ามีเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษก็สามารถที่จะติดตามได้ในการพบกันครั้งต่อๆ ไปของเราได้นะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์วันพฤหัสบดี

#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็ม

#ความรู้เรื่องสภาวะของการที่โครงสร้างเสาเข็มของเรานั้นเกิดแรงดึงฉุดลง

#ตอนที่2

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com