ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งาน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งานมาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

เนื่องจากมีคำถามฝากเข้ามาจากเพื่อนของผมท่านหนึ่งซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับงานดิน ผมจึงจำเป็นที่จะต้องจะขออนุญาตใช้พื้นที่ในการโพสต์ของวันนี้ในการตอบคำถามข้อนี้ โดยที่ใจความของปัญหานั้นมีอยู่ว่า

 

“หากว่าผมได้ทำการทดสอบชั้นดินในสถานที่ก่อสร้างเป็นที่เรียบร้อยแล้วแต่ผลกลับปรากฏว่า ลักษณะของชั้นดินส่วนใหญ่ในสถานที่ก่อสร้างของผมนั้นจะเป็นดินเหนียวอ่อนที่ค่อนข้างที่จะมีคุณภาพทางด้านกำลังที่ค่อนข้างแย่ พูดง่ายๆ ก็คือดินจะมีกำลังความสามารถในการรับน้ำหนักที่ค่อนข้างจะต่ำมากๆ เลย ผมเลยอยากจะรบกวนขอคำชี้แนะหน่อยได้มั้ยครับว่าผมควรจะทำเช่นใดดี ?”

 

ผมขออนุญาตตอบเพื่อนท่านนี้แบบนี้นะครับว่า หากว่าเราได้มีการทำการทดสอบดินในตำแหน่งต่างๆ และทำด้วยจำนวนที่มีความเหมาะสมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งผลจากการทดสอบดินดังกล่าวก็ได้ยืนยันและระบุออกมาว่า ชั้นดินของเรานั้นค่อนข้างที่จะมีกำลังความสามารถในการรับน้ำหนักที่ค่อนข้างจะต่ำ หากว่าเราได้มีการคิดและคำนวณเป็นที่เรียบร้อยแล้วว่า หากตัดสินใจทำงานในสภาพของดินเดิมนั้นๆ จะทำให้เกิดความยุ่งยากหรือสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการทำงานก่อสร้างสูงจนเกินไปวิธีการที่ดูจะมีความง่ายดายและมีความเหมาะสมที่สุดนั่นก็คือการพัฒนากำลังของดินนั่นเองครับ

 

ถูกต้องแล้วครับ เพื่อนๆ ไม่ได้อ่านผิด เพราะในความเป็นจริงนั้น ดิน ก็ถือได้ว่าเป็นวัสดุๆ หนึ่ง ดังนั้นเราจึงสามารถที่จะทำการดัดแปลงและพัฒนาคุณสมบัติทางกลของดินได้เพราะปัญหาเรื่องการที่ดินนั้นมีคุณภาพทางด้านการรับกำลังที่ค่อนข้างแย่นั้นได้ว่าเป็นปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งสำหรับงานวิศวกรรมฐานราก โดยเฉพาะเมื่อเราพูดถึงลักษณะชั้นดินที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งชั้นดินดังกล่าวนี้จะประกอบไปด้วยชั้นดินเปลือกแข็งหนาประมาณ 2 ถึง 3 เมตร ซึ่งจะวางตัวอยู่บนชั้นผิวด้านบนสุด ตามมาด้วยชั้นดินเหนียวอ่อนซึ่งก็จะมีความหนาอยู่ที่ประมาณ 8 ถึง 10 เมตร ต่อมาก็จะเป็นชั้นดินเหนียวแข็งปานกลางโดยจะมีความหนาอยู่ที่ประมาณ 4 ถึง 5 เมตร สำหรับชั้นดินประเภทที่เป็นดินเหนียวเหนียวแข็งนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ลึกลงไปที่ระดับประมาณ 15 ถึง 16 เมตร เลยนะครับ

 

ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันนี้เองจึงทำให้เรามีเทคนิคหลายๆ เทคนิคที่เรามักจะนำมาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงคุณภาพการรับกำลังของดินเหนียวอ่อนนี้ โดยที่เราจะเน้นไปที่การปรับปรุงคุณสมบัติทางด้านการเพิ่มค่าความสามารถในการรับกำลังและการลดค่าของการทรุดตัวของดินเป็นหลัก เช่น การใช้เสาดิน-ซีเมนต์หรือว่า SOIL-CEMENT COLUMN การอาศัย PVD หรือวิธีการ PRE-LOADING ในการเร่งค่าการทรุดตัวของดิน เป็นต้น ทั้งนี้วิธีการแต่ละวิธีการก็จะมีข้อจำกัดและรายละเอียดในเรื่องต่างๆ ที่มีความแตกต่างกันออกไป เช่น วิธีการบางวิธีก็มีความยุ่งยากในการทำงานค่อนข้างมาก วิธีการบางวิธีการก็จำเป็นต้องอาศัยระยะเวลาในการทำการก่อสร้างที่ค่อนข้างจะนาน วิธีการบางวิธีก็มีค่าใช้จ่ายในการทำงานที่ค่อนข้างจะสูง เป็นต้น

 

ดังนั้นหากว่าพวกเรามีความคิดที่จะทำการพัฒนาหรือปรับปรุงคุณภาพของชั้นดินในสถานที่ก่อสร้างใดๆ ก็แล้วแต่ ผมก็อยากที่จะขอให้คำแนะนำกับเพื่อนๆ เอาไว้เลยว่า เพื่อนๆ ควรที่จะต้องทำการขอคำปรึกษากับทางวิศวกรธรณีเทคนิคโดยตรงจะเป็นการดีที่สุดเพราะวิศวกรธรณีเทคนิคนั้นถือได้ว่าเป็นวิศวกรเฉพาะทางสาขาหนึ่งทางด้านงานในสาขาวิศวกรรมโยธา ซึ่งก็จะมีความละม้ายคล้ายคลึงกันกับวิศวกรโครงสร้าง ทั้งนี้ก็เพื่อเพื่อนๆ จะได้มีข้อมูลที่ถูกต้องและเหมาะสมสำหรับใช้ในการตัดสินใจต่างๆ สำคัญที่สุดก็คือเพื่อที่จะได้เกิดทั้งความปลอดภัยและความประหยัดทั้งในเรื่องของค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการทำงานภายในขั้นตอนต่างๆ ของการทำงานปฐพีให้มากที่สุดนั่นเองนะครับ

 

ปล ผมต้องขออนุญาตและขอขอบคุณรูปภาพจากอินเตอร์เน็ตรูปนี้ ซึ่งได้มีการอธิบายถึงขั้นตอนในการทำงานของเสาดิน-ซีเมนต์ขั้นตอนหนึ่งเอาไว้ เพื่อนำมาใช้ประกอบในโพสต์ๆ นี้มา ณ โอกาสนี้ด้วยนะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็ม

#ให้คำปรึกษาเรื่องการพัฒนาคุณสมบัติทางด้านกำลังการรับน้ำหนักของชั้นดินเหนียวอ่อน

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com