สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง เหล็ก (STRUCTURAL STEEL ENGINEERING DESIGN หรือ SCE) นะครับ
เนื่องจากเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมานั้นผมได้โพสต์และอธิบายถึงเรื่องวิธีในการคำนวณหาค่า EFFECTIVE LENGTH FACTOR หรือค่า K เมื่อเราต้องทำการออกแบบโครงสร้างเหล็กรับแรงอัดโดยใช้ ALIGNMENT CHART ให้แก่เพื่อนๆ ไป ปรากฏว่ามีเพื่อนของผมหลายคนเลยสอบถามผมเข้ามาว่า อยากให้ผมอธิบายเพิ่มเติมถึงเจ้า ALIGNMENT CHART นี้สักหน่อยจะได้หรือไม่ ?
ได้ซิครับ ไม่มีปัญหาอยู่แล้ว เพราะ จริงๆ แล้วเจ้า ALIGNMENT CHART นี้มีประโยชน์ค่อนข้างมากนะครับ และ ส่วนใหญ่แล้วโอกาสที่คนจะได้เรียนรู้และทำความรู้จักกับเจ้า ALIGNMENT CHART นี้ก็คือคนที่ศึกษาต่อในระดับ ป โท ในสาขาวิศวกรรมโครงสร้างเท่านั้น โดยหากเพื่อนๆ สนใจก็สามารถที่จะไปศึกษาเพิ่มเติมโดยลงเรียนในวิชา เสถียรภาพของโครงสร้าง หรือ STRUCTURAL STABILITY นั่นเองนะครับ
เจ้า ALIGNMENT CHART ที่เพื่อนๆ เห็นในรูปๆ นี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์ในการคำนวณหาค่า EFFECTIVE LENGTH FACTOR หรือค่า K หรือในภาษาไทย คือ ค่าตัวคูณประกอบความยาวประสิทธิผล ของโครงสร้างรับแรงอัดทั้งใน โครงข้อแข็งแบบไม่ได้รับการยึดรั้ง (UNBRACED FRAMES) หรือ หลายๆ ครั้งเราก็มักจะเรียกว่า โครงสร้างที่เซตัวได้ (SIDESWAY INHIBITED FRAMES) และใน โครงข้อแข็งแบบที่ได้รับการยึดรั้ง (BRACED FRAMES) หรือ หลายๆ ครั้งเราก็มักจะเรียกว่า โครงสร้างที่ได้รับการป้องกันไม่ให้เซตัวได้ (SIDESWAY PREVENTED FRAME) โดยมีข้อจำกัดห้อยท้ายอยู่นิดนึงว่า เมื่อโครงสร้างรับแรงอัดนั้นจะเกิดการโก่งเดาะในช่วงที่โครงสร้างนั้นมีสภาวะเป็นเชิงเส้น (ELASTIC BUCKLING) เท่านั้น ซึ่งเจ้า ALIGNMENT CHART นี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นโดย MORELAND และ JACKSON
โดยที่ค่า K นี้จะเป็นค่าที่ขึ้นกับค่า G ซึ่งก็คือ อัตราส่วน ผลรวมของค่าตัวคูณความแข็งแกร่งของโครงสร้างรับแรงอัด ต่อ ผลรวมของค่าตัวคูณความแข็งแกร่งของโครงสร้างรับแรงดัด ที่ ปลายด้านบน ซึ่งก็คือที่ตำแหน่ง A และ ปลายด้านล่าง ซึ่งก็คือที่ตำแหน่ง B ของโครงสร้างรับแรงอัดต้นที่เรากำลังพิจารณาอยู่ โดยเมื่อเราทำการคำนวณหาค่า G ที่ตำแหน่ง A และ B ได้แล้วก็ให้ทำการลากเส้นตรงต่อเชื่อมระหว่างค่า G ทั้งสองตำแหน่ง ซึ่งตำแหน่งที่เส้นตรงนี้ไปตัดกันกับแกนกลางที่ตรงตำแหน่งใด ตำแหน่งนั้นก็คือค่า K ของโครงสร้างรับแรงอัดต้นนั้นๆ นะครับ
หากว่าเราทราบว่า ที่โคนเสานั้นเป็นจุดรองรับแบบ ยึดแน่น (FIXED SUPPORT) ให้เราใช้ค่า G เท่ากับ 1 และ หากจุดรองรับนั้นเป็นแบบ ยึดหมุน (PINNED SUPPORT) ให้เราใช้ค่า G เท่ากับ 10 และ หากเราทราบว่า สภาพการยึดรั้งของปลายของโครงสร้างรับแรงดัดด้านไกลนั้นเป็นอย่างไร ก็ให้เราคูณ ค่าตัวคูณความแข็งแกร่ง ของโครงสร้างรับแรงดัดด้วยค่าดังต่อไปนี้นะครับ
กรณีที่ 1 เมื่อโครงสร้างนั้นเป็น โครงข้อแข็งแบบที่ได้รับการยึดรั้ง
หากว่าปลายของโครงสร้างรับแรงดัดนั้นเป็นแบบ ยึดแน่น ให้คูณด้วยค่า 2.00
หากว่าปลายของโครงสร้างรับแรงดัดนั้นเป็นแบบ ยึดหมุน ให้คูณด้วยค่า 1.50
กรณีที่ 2 เมื่อโครงสร้างนั้นเป็น โครงข้อแข็งแบบที่ไม่ได้รับการยึดรั้ง
หากว่าปลายของโครงสร้างรับแรงดัดนั้นเป็นแบบ ยึดแน่น ให้คูณด้วยค่า 0.67
หากว่าปลายของโครงสร้างรับแรงดัดนั้นเป็นแบบ ยึดหมุน ให้คูณด้วยค่า 0.50
หากเพื่อนๆ จะต้องทำการคำนวณหาค่า K สำหรับโครงข้อแข็งแบบที่ได้รับการยึดรั้ง มาตรฐานการออกแบบของ AISC ได้ให้คำแนะนำเอาไว้ว่าให้เราใช้ค่า K เท่ากับ 1.00 เว้นแต่ว่าเราจะสามารถทำการคำนวณเพื่อพิสูจน์ได้จริงๆ ว่าค่า K นั้นมีค่าน้อยกว่า 1.00 และ หากเพื่อนๆ จะต้องทำการคำนวณหาค่า K สำหรับโครงข้อแข็งแบบที่ไม่ได้รับการยึดรั้ง มาตรฐานการออกแบบของ AISC ก็ได้ให้คำแนะนำเอาไว้อีกเช่นกันว่า เราควรที่จะทำการคำนวณหาค่า K จริงๆ ออกมา แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ค่า K ที่ใช้สำหรับกรณีนี้ก็จะมีค่า มากกว่า หรือ เท่ากับ 1.00 เสมอนะครับ
เอาเป็นว่าในวันหน้า ผมจะขออนุญาตนำเอาเรื่องที่เกี่ยวข้องอื่นๆ กับ ALIGNMENT CHART เช่น ค่าตัวคูณเพื่อใช้ลดค่าความแข็งแกร่ง หรือ STIFFNESS REDUCTION FACTOR เป็นต้น มาเล่าสู่กันฟังเพิ่มเติมแก่เพื่อนๆ ก็แล้วกันนะครับ หากว่าเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจ ก็สามารถที่จะรอและติดตามอ่านบทความของผมได้ในโอกาสต่อๆ ไปครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586
? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com