การทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่อยู่เหนือพื้นดินขึ้นและ ใต้พื้นดินลงไป
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่อยู่ เหนือพื้นดินขึ้นมา และ ใต้พื้นดินลงไป มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ
โดยในวันนี้ผมจะขออนุญาตพูดถึงเรื่องเล็กเรื่องหนึ่งที่จริงๆ แล้วต้องถือว่าไม่เล็กเลย นั่นก็คือ การทำงานส่วนใต้ฐานเหล็กแผ่นที่ทำหน้าที่ในการรับโครงสร้างเสาเหล็กด้วยการเทช่องว่างข้างล่างนี้ให้เต็มด้วย ซีเมนต์ชนิดไม่มีการหดตัว หรือ ที่เรานิยมเรียกกันว่า NON-SHRINK นั่นเองนะครับ
โครงสร้างเสาเหล็กในรูปที่แสดงนั้นได้ถูกทำการยึดและติดตั้งลงไปบนเหล็กแผ่นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเราจะสามารถเห็นว่ามีช่องว่างเหลืออยู่ได้ด้วยตาเปล่าเลย ซึ่งตามปกติแล้วในแบบวิศวกรรมโครงสร้างจะมีการระบุให้ทำการเติมช่องว่างเหล่านี้ให้เต็มโดยใช้วัสดุจำพวก NON-SHRINK แต่ จากรูปก็จะพบเห็นได้ว่า ยังไม่มีการเติมด้วยวัสดุดังกล่าวเลย ซึ่งนั่นแสดงให้เห็นถึงการละเลยหรือขาดการควบคุมงานที่ดีเพียงพอ
ตามปกติแล้วใต้แผ่นเหล็ก หรือ ที่เรานิยมเรียกกันว่า BASE PLATE นั้นจะมีการร้อยด้วย NUT ที่อาจจะเป็น ANCHOR BOLT ไว้ในโครงสร้างเสาคอนกรีตก่อนที่จะทำการติดตั้งตัว STEEL COLUMN ที่มีการยึดเข้ากับตัว BASE PLATE อยู่ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะให้เป็นตัวช่วยในการที่ช่างเหล็กที่ทำหน้าที่ในการติดตั้งชิ้นส่วนโครงสร้างเหล็กนั้นสามารถที่จะทำการก่อสร้างและติดตั้งตัวโครงสร้างเสาเหล็กได้ด้วยความง่ายดายมากยิ่งขึ้น เช่น ติดตั้งให้ได้ระดับ ติดตั้งให้ได้ตำแหน่งศูนย์กลาง ติดตั้งให้ได้ดิ่ง เป็นต้น เมื่อทำเช่นนั้นก็จะทำให้ที่ใต้แผ่น BASE PLATE นั้นเกิดช่องว่างขึ้น ดังนั้นเพื่อให้โครงสร้างเสาเหล็กนั้นสามารถที่จะถ่าย แรงกด หรือ BEARING FORCE ลงไปยังส่วนที่เป็นฐานระหว่าง โครงสร้างเสาคอนกรีต ได้อย่างสมบูรณ์แบบ เราจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการเติมช่องว่างนี้ด้วย NON-SHRINK โดยที่การเติมเจ้าวัสดุนี้เข้าไปเราจำเป็นที่จะต้องแน่ใจได้จริงๆ นะครับว่า ช่องว่างนี้ เต็ม ไปด้วย NON-SHRINK อย่างสมบูรณ์ เช่น ไม่ได้เกิด โพรง หรือ เกิดฟองอากาศ ภายในช่องว่างเหล่านี้เลย เป็นต้นครับ
เอาเป็นว่าครั้งต่อๆ ไปหากเพื่อนๆ ต้องทำหน้าที่ในการควบคุมการก่อสร้างและการติดตั้งโครงสร้างเสาเหล็กเข้ากันกับฐานรองรับที่เป็นคอนกรีตอีก ก็อย่าลืมที่จะดูรายละเอียดตรงนี้ให้ดีด้วยนะครับ มิเช่นนั้นหากเกิดความผิดพลาดเพราะช่างที่ทำการติดตั้งนั้นเกิดหลงลืมประเด็นนี้ไป นั่นอาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของโครงสร้างเสาเหล็กต้นนี้ที่ทางผู้ออกแบบได้ทำการพิจารณาออกแบบไว้แต่เดิมโดยสิ้นเชิงเลยนะครับ ดังนั้นทางที่ดีที่สุดก็คือ ทำตามที่ทางผู้ออกแบบได้ระบุเอาไว้ในแบบวิศวกรรมโครงสร้างก็จะเป็นการดีที่สุดนั่นเองครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ADMIN JAMES DEAN
Bhumisiam ภูมิสยาม
ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับการรับรองระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ตามมาตรฐาน ISO 45001:2018
2) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
4) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
5) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
6) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
7) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
8) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
9) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
10) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
11) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
☎ 082-790-1447
☎ 082-790-1448
☎ 082-790-1449
☎ 081-634-6586
#micropile
#spunmicropile
#bhumisiam
#ไมโครไพล์
#สปันไมโครไพล์
#เสาเข็มไมโครไพล์
#เสาเข็มสปันไมโครไพล์
#เข็มไมโครไพล์
#ภูมิสยาม
#เสาเข็ม
#ตอกเสาเข็ม
#น้องสปัน
#น้องจินนี่
#สปันแมน