ความสามารถในการรับแรงแบกทานของดินตามวิธีการของ TERZAGHI
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งานมาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ
หากว่าเพื่อนๆ ยังจำกันได้เมื่อหลายสัปดาห์ก่อนผมเคยนำเอาเรื่องหลักในการคำนวณหาค่ากำลังความสามารถในการรับแรงแบกทานของดินตามวิธีการของ TERZAGHI มาอธิบายให้แก่เพื่อนๆ ได้รับทราบกัน ซึ่งในหัวข้อนั้นเองผมยังได้ทำการพูดถึงประเด็นๆ หนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องและถือได้ว่ามีความสำคัญไม่น้อยในการออกแบบงานวิศวกรรมฐานรากของอาคารนั่นก็คือเรื่อง ระดับของน้ำใต้ดิน ใช่แล้วครับ ในวันนี้ผมจะนำเอาหัวข้อๆ นี้มาทำการอธิบายและขยายความในประเด็นๆ นี้ให้แก่เพื่อนๆ ทุกๆ คนเพื่อเป็นความรู้ทางด้านการออกแบบงานวิศวกรรมฐานรากนะครับ
ถ้าเมื่อใดที่ระดับลึกลงไปใต้ดินนั้นมี น้ำ อยู่สิ่งแรกๆ ที่อาจจะผุดขึ้นมาในความคิดและจินตนาการของเพื่อนๆ นั่นคืออะไรครับ ?
ผมคิดว่าน่าจะมีเพื่อนๆ ของเราหลายๆ คนช่วยกันตอบกันเข้ามาหลายคำตอบเลยนะครับและใช่ครับ หนึ่งในนั้นเลยก็คือ ที่ใดที่มีน้ำใต้ดิน ที่นั่นก็ย่อมที่จะมีแรงดันที่เกิดจากน้ำใต้ดินนั่นเองนะครับ
แรงดันของน้ำใต้ดินถือได้ว่าเป็นปัจจัยที่ผลอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมต่างๆ ของชั้นดิน ดังนั้นผู้ออกแบบงานวิศวกรรมฐานรากจึงมีความจำเป็นที่จะต้องทราบว่า ระดับของน้ำใต้ดินนั้นจะอยู่ที่ระยะความลึกลงไปเท่ากับเท่าใดจากผิวดินเดิมด้วยเสมอเลยนะครับ
โดยที่ผมจะขออนุญาตทำการขยายความหมายของคำๆ นี้เสียก่อนนะครับว่า ระดับของน้ำใต้ดิน ก็คือ ระดับซึ่งความดันของน้ำนั้นจะมีค่าเท่ากับค่าความดันของชั้นบรรยากาศนั่นเอง โดยที่ดินที่จะอยู่เหนือระดับของน้ำใต้ดินนี้อาจจะมีสภาพเป็นแบบอิ่มตัวด้วยน้ำ หรือ FULLY SATURATED หรืออาจจะมีสภาพเป็นแบบกึ่งอิ่มตัวด้วยน้ำ หรือ PARTIALLY SATUARTED แบบใดแบบหนึ่งก็ได้ ตามที่ผมได้กล่าวถึงข้างต้นจะพบว่าคุณสมบัติดังกล่าวนี้จะส่งผลทำให้ค่าของระดับน้ำใต้ดินนั้นมีความสลักสำคัญต่อขั้นตอนในการออกแบบและก่อสร้างงานวิศวกรรมโครงสร้างฐานรากของอาคารเป็นอย่างมากเลยน่ะครับ
ดังนั้นในขณะที่ทำการเจาะสำรวจดินทางผู้สำรวจจึงค่อนข้างมีความจำเป็นที่จะต้องทำการตรวจวัดระดับและทำการจดบันทึกค่าต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของน้ำใต้ดินนี้อยู่เกือบจะตลอดเวลาเลยก็ว่าได้ สำหรับบางกรณีของการเจาะสำรวจที่ถือได้ว่าค่อนข้างมีความแปลกไม่ค่อยปกติ เช่น กรณีที่มีการใช้ท่อกรุกันผนังหลุมเจาะที่อาจจะมีเสถียรภาพค่อนข้างที่จะต่ำ ทางผู้ทำการเจาะควรทำการสังเกตการไหลเข้าและออกของน้ำภายในหลุมเจาะภายในทุกๆ ครั้งที่มีการเจาะดินผ่านปลายท่อกรุนี้ลงไปด้วยเสมอ โดยหากเป็นไปได้ก็ยิ่งควรที่จะต้องทำการตรวจวัดระดับของน้ำในสภาวะแบบสมดุลอีกด้วยนะครับ
สุดท้ายผมอยากที่จะขอฝากเพื่อนๆ เอาไว้ตรงนี้สักเล็กน้อยนะครับว่า ระดับของน้ำที่เราได้จากการทำการเก็บข้อมูลในการเจาะสำรวจชั้นดินนั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นค่าของระดับของน้ำใต้ดินเสมอไปนะครับ ทราบกันหรือไม่ครับว่านั่นเป็นเพราะอะไร ?
ตามปกตินั้นการตรวจสอบเพื่อที่จะทำการวัดระดับของน้ำใต้ดินนั้นภายหลังจากที่เสร็จสิ้นขั้นตอนของการเจาะสำรวจดินไปแล้วไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง ดังนั้นการที่เรามีการใช้น้ำโคลนเพื่อที่จะคอยทำหน้าที่ในการรักษาเสถียรภาพของหลุมเจาะจึงอาจไม่ใช่ความคิดที่ดีเสมอไปเพราะการทำเช่นนั้นอาจจะทำให้ขั้นตอนของการตรวจวัดระดับของน้ำใต้ดินนั้นเกิดความคลาดเคลื่อนและผิดพลาดไม่ถูกต้องได้นะครับ
ยังไงในครั้งต่อไปผมจะขออนุญาตมาพูดถึงวิธีการที่พวกเรานิยมนำมาใช้ในการตรวจสอบหาค่าของระดับน้ำใต้ดินที่ค่อนข้างให้ผลที่น่าเชื่อถือมาฝากเพื่อนๆ ทุกๆ คนโดยหากเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจเป็นพิเศษก็สามารถที่จะติดตามบทความๆ นี้ได้ในครั้งต่อไปที่เราจะได้กลับมาพบกันนะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์วันพฤหัสบดี
#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็ม
#อธิบายถึงความสำคัญของขั้นตอนในการตรวจสอบระดับของน้ำใต้ดิน
ADMIN JAMES DEAN
Bhumisiam ภูมิสยาม
ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับการรับรองระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ตามมาตรฐาน ISO 45001:2018
2) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
4) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
5) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
6) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
7) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
8) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
9) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
10) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
11) การผลิตคอนกรี ตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
063-889-7987
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449