ปัญหาวิธีการที่ควรปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ขึ้นกับโครงสร้างอาคาร
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
วันนี้ผมยังจำเป็นที่จะต้องขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนอยู่นะครับ
สืบเนื่องจากปัญหาเมื่อวานที่ผมได้โพสต์ไปและได้แชร์ลงบนเฟซบุ้คส่วนตัวของผมผลปรากฎว่ามีรุ่นพี่ที่ผมรักและเคารพท่านหนึ่งได้สอบถามเข้าในโพสต์โดยมีใจความของคำถามดังนี้ครับ
บ้านภายในรูปๆ นี้ประสบกับเหตุเพลิงไหม้อันเนื่องมาจากเหตุเกิดจากการที่ไฟฟ้านั้นลัดวงจร คำถามก็คือ โครงสร้างของอาคารหลังนี้ยังคงสามารถที่จะใช้งานได้อยู่หรือไม่ เพราะว่าตอนนี้ทางฝ่ายของเจ้าของกำลังทำการซ่อมแซมโดยที่จะใช้โครงสร้างของอาคารเดิม ขอบคุณครับ
ซึ่งเนื่องจากตอนนั้นเป็นเวลาทำงานผมจึงได้ให้คำตอบในเบื้องต้นกับรุ่นพี่ท่านนี้ไปว่า ผมขอแนะนำให้ทำการเรียกวิศวกรโครงสร้างเข้าทำการตรวจสอบสภาพของอาคารเดิมก่อนจะเป็นการดีที่สุด ดังนั้นหากเพื่อนๆ ประสบพบเจอกับเหตุการณ์ปัญหาการที่โครงสร้างของเพื่อนๆ นั้นต้องประสบเข้ากับเหตุเพลิงไหม้เข้า ผมจึงอยากที่จะขอมาทำการขยายความประเด็นๆ นี้ให้แก่เพื่อนๆ ได้รับทราบเป็นข้อมูลในเบื้องต้นเพื่อใช้ในการดำเนินการแก้ไขปัญหานี้นะครับ
ตามปกติแล้วอาคารที่มีการก่อสร้างในบ้านเรานั้นจะทำขึ้นจากโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กเป็นหลัก หากว่าอาคารของเรามีการก่อสร้างโดยการควบคุมงานที่ดีซึ่งนั่นหมายความว่า ชิ้นส่วนโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กของเรานั้นมีระยะหุ้มของคอนกรีตถึงเนื้อของเหล็กเสริมหรือที่เราเรียกกันว่า CONCRETE COVERING ที่เป็นตามข้อกำหนดของมาตรฐานงานก่อสร้างโดยทั่วไป ก็จะทำให้อาคารของเรานั้นสามารถที่จะมีความสามารถในการทนไฟได้อย่างน้อย 30 นาที หรือมากที่สุดไม่เกิน 3 ชั่วโมง ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่างที่มีความเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างตัวอาคาร โดยหากอ้างอิงจากข้อมูลจากสมาคมวิชาชีพที่มีการระบุเอาไว้ว่า อาคารในประเทศไทยส่วนใหญ่นั้นมีการก่อสร้างด้วยระบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กซึ่งจะมีความสามารถในการทนไฟได้ดังนี้
(1) กรณีของอาคารขนาดใหญ่พิเศษ หรือ อาคารสูง ที่มีขนาดของความสูงตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไปหรือมีพื้นที่ใช้สอยโดยรวมตั้งแต่ 10,000 ตร.ม. ขึ้นไป อาคารประเภทนี้อาจจะมีความสามารถในการทนไฟได้ประมาณ 2 ถึง 3 ชั่วโมง
(2) กรณีของอาคารขนาดเล็กที่ไม่เป็นไปตามข้อ (1) อาจกล่าวได้ว่าอาคารประเภทนี้จะสามารถทนไฟได้ประมาณ 30 นาที ภายหลังจากนั้นอาคารก็มีโอกาสที่จะถล่มลงมาได้ในทันที
ดังนั้นประการแรกเลย หากว่าอาคารของเพื่อนๆ เป็นอาคารประเภทใดก็ตาม สิ่งแรกที่ควรทำคือ ทำการตรวจสอบเรื่องของ “ระยะเวลา” ในการที่โครงสร้างในส่วนที่เพื่อนๆ กำลังพิจารณาอยู่ว่าโครงสร้างดังกล่าวนั้นจะอยู่ในสภาวะที่ได้รับความร้อนอันเนื่องมาจากไฟที่ลุกไหม้โดยตรงอยู่นานเพียงใด ?
หากว่าเพื่อนๆ ได้ทำการตรวจสอบแล้วมีความมั่นใจได้ว่า ระยะเวลาที่เกิดขึ้นนั้นมีค่าน้อยกว่าระยะเวลาข้างต้น เพื่อนๆ ก็น่าจะสบายใจได้ หากเป็นเช่นนี้เพื่อนๆ ก็อาจจะไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีความกังวลใจอะไรมากจนเกินไปนักนะครับ
ประการที่สอง ไม่ว่าเพื่อนๆ จะทากรตรวจสอบตามข้อแรกหรือไม่ก็ตาม สิ่งที่เพื่อนๆ ควรที่จะทำต่อมาก็คือ ให้ทำการตรวจสอบทุกๆ ส่วนของโครงสร้างด้วยตาเปล่าก่อน หากพบว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของโครงสร้างของเพื่อนๆ มีความเสียหายเกิดขึ้น เพื่อนๆ ก็ควรที่จะทำการจดบันทึกเอาไว้และจำเป็นที่จะต้องกันมิให้บุคคลภายนอกผู้ไม่มีความเกี่ยวข้องมิให้สามารถเข้าถึงพื้นที่ดังกล่าวได้
ต่อมาผมอยากจะขอพูดถึงรายละเอียดของความเสียหายที่เพื่อนๆ อาจจะต้องทำการจดบันทึกสักนิสนึงเพราะผมเชื่อเหลือเกินว่าพวกเราหลายคนอาจจะมีประเด็นข้อสงสัยว่า แล้วเราจะมีวิธีในการจดบันทึกในรูปแบบและวิธีการอย่างไรดี ?
ผมขอแนะนำวิธีการตรวจสอบและจดบันทึกง่ายๆ และค่อนข้างที่จะมีความตรงไปตรงมาดังนี้ นั่นก็คือ เวลาที่เราตรวจสอบโครงสร้างของอาคารที่ถูกเพลิงไหม้ ให้เราทำการแบ่งประเภทของความเสียหายออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
ระดับที่ 1 คือ ระดับความเสียหายชนิดที่มีความรุนแรงมากๆ หมายถึง อาคาจะมีความเสียหายหนักมากๆ จุดสังเกตก็คือ ตัวอาคารจะเกิดการวิบัติลงมาแบบทั้งหมดหรือแบบบางส่วน เช่น มีการยุบตัวของฝ้าลงมา เป็นต้น ลักษณะของโครงสร้างคาน หรือ โครงสร้างพื้นของอาคาร มีลักษณะที่เกิดการเอียงตัวไป กล่าวคือ มีการเอียงตัวหรือไม่ได้ระดับนั่นเอง ส่วนของผนังอาคารก็เกิดการเอียงตัวจนล้มหรือเกือบที่จะล้ม ชิ้นส่วนโครงสร้างหลักๆ ของอาคารไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างเสาหรือคานก็แล้วแต่มีการขยายตัวออกในลักษณะที่เป็นแบบบวมตัวออก ส่วนใหญ่แล้วโครงสร้างของอาคารจะมีความเสียหายได้ถึงระดับนี้ได้มักที่จะต้องถูกไฟไหม้นานประมาณ 8 ชั่วโมงขึ้นไป
ระดับที่ 2 คือ ระดับความเสียหายชนิดที่ต้องมีการเฝ้าระวัง หมายถึง อาคารจะมีความเสียหายหนักในระดับหนึ่งแต่ยังไม่ถึงขั้นเกิดการวิบัติตัวลงมา จุดสังเกตก็คือ โครงสร้างพื้นของอาคารจะเริ่มมีลักษณะของการแอ่นตัว คอนกรีตที่ติดกันกับผิวเหล็กเส้นในตำแหน่งที่ไม่ได้มีการรับน้ำหนักมากๆ อาจเกิดการกะเทาะหรือว่าเกิดการร่อนตัวออกจากกัน ส่วนใหญ่แล้วโครงสร้างของอาคารจะมีความเสียหายในระดับนี้ได้มักที่จะต้องถูกไฟไหม้นานประมาณ 4 ชั่วโมง เป็นอย่างมาก
ระดับที่ 3 คือ ระดับความเสียหายชนิดที่ไม่มากนัก แต่ ก็ยังจำเป็นที่จะต้องทำการตรวจสอบเชิงลึกเพื่อความแน่ใจจะเป็นการดีที่สุด หมายถึง เมื่อมองด้วยตาเปล่าจากภายนอกแล้ว อาคารของเราจะไม่ได้มีความเสียหายอะไรหนักหนามากนัก จุดสังเกตก็คือ โครงสร้างอาจจะเกิดความเสียหายเพียงแค่มีรอยแตกร้าวบ้างเล็กน้อย หรือ อาจไม่พบรอยร้าวใดๆ เลย พบเพียงแค่คราบเขม่าควันซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในตำแหน่งต่างๆ ของโครงสร้างที่ไม่ถือว่าเป็นโครงสร้างหลักก็ได้ ส่วนใหญ่แล้วโครงสร้างของอาคารที่จะมีความเสียหายในระดับนี้มักที่จะต้องถูกไฟไหม้นานประมาณ 30 นาที เป็นอย่างมาก
ในปัจจุบันเรื่องอัคคีภัยถือเป็นประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากในการออกแบบจากหลากหลายๆ ฝ่ายที่ทำหน้าที่เป็นผู้ออกแบบ ดังนั้นต่อไปจะไม่ใช่เพียงสถาปนิกหรือผู้ออกแบบงานวิศวกรรมระบบอัคคีภัยเท่านั้นที่จะต้องใส่ใจและคำนึงถึงเรื่องๆ นี้ วิศวกรในทุกๆ สาขาเองก็ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบอาคารเพื่อที่จะช่วยกันป้องกันเหตุการณ์การเกิดอัคคีภัยภายในอาคารด้วยครับ
สุดท้ายนี้ผมต้องขอเรียนทิ้งท้ายเอาไว้สักนิดว่า หลักการข้างต้นเป็นเพียงวิธีการ “ขั้นต่ำ” ที่เราอาจจะทำด้วยตัวเองได้ แต่ ก่อนที่เพื่อนๆ จะเข้าไปในเขตพื้นที่ของอาคารที่ถูกเพลิงไหม้นั้นเพื่อนๆ เองก็ต้องมีความมั่นใจได้ในระดับหนึ่งเท่านั้นนะครับว่า โครงสร้างของเพื่อนๆ นั้นจะอยู่ในลักษณะที่ยังคงมีเสถียรภาพ มีความแข็งแรง และ มีความปลอดภัยที่ดีในระดับที่เพียงพอต่อการเข้าไปทำการตรวจสอบได้จริงๆ อย่างไรเสียถึงแม้ว่าเพื่อนๆ จะได้ดำเนินการตามวิธีการและคำแนะนำข้างต้นไปแล้วก็ตาม ผมก็ยังจะขอยืนยันตามคำแนะนำที่ได้ให้ไว้ตั้งแต่ตอนต้นว่า ให้ทำการเรียกวิศวกรโครงสร้างเข้าทำการตรวจสอบสภาพของอาคารเดิมก่อนจะเป็นการดีที่สุดนั่นเองครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ
#ปัญหาวิธีการที่ควรปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ขึ้นกับโครงสร้างอาคาร
ADMIN JAMES DEAN
Bhumisiam ภูมิสยาม
ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
(1) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
(2) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
(3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สมอ.
(4) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
(5) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
(6) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
(7) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
(8) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
(9) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
(10) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
(1) สามารถทำงานในที่แคบได้
(2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
(3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
(4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
(5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
063-889-7987
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449