ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่อยู่ เหนือพื้นดินขึ้นมา และ ใต้พื้นดินลงไป

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่อยู่ เหนือพื้นดินขึ้นมา และ ใต้พื้นดินลงไป มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

โดยในวันนี้ผมจะมาตอบคำถามของแฟนเพจท่านหนึ่งทีได้ทิ้งคำถามเอาไว้ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ เสาเข็ม โดยที่ประเด็นนี้จะมีความต่อเนื่องมาจากในสัปดาห์ที่แล้วซึ่งผมก็ถือได้ว่าคำถามๆ นี้มีความน่าสนใจดีนะครับ นั่นก็คือ เพราะเหตุใดเราจึงนิยมใช้ค่าสัดส่วนความปลอดภัยเท่ากับ 2.5 ในการคำนวณหาค่ากำลังการรับน้ำหนักของเสาเข็มเวลาที่เราทำการตรวจสอบการทำ BLOW COUNT นั่นเองครับ

ก่อนที่จะตอบคำถามข้อนี้ ผมต้องขอย้อนเนื้อหากลับไปในเนื้อหาก่อนหน้านี้ที่เคยโพสต์ไปแล้วสักนิดก่อนนะครับว่า กลไกในการส่งถ่ายแรงตามแนวแกนหรือ AXIAL LOAD TRANSFER MECHANISM ในเสาเข็มนั้นจะประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลักๆ ได้แก่

1.ค่ากำลังแรงฝืดที่ผิวของเสาเข็ม หรือ SKIN FRICTION CAPACITY OF PILE โดยที่ผมจะให้ค่าๆ นี้มีค่าเท่ากับ Qf 

2.ค่ากำลังแรงแบกทานที่ปลายของเสาเข็ม หรือ END BEARING CAPACITY OF PILE โดยที่ผมจะให้ค่าๆ นี้มีค่าเท่ากับ Qb

ซึ่งค่ากำลังการรับแรงตามแนวแกนที่ยอมให้ของเสาเข็ม หรือ ALLOWABLE CAPACITY OF PILE โดยที่ผมจะให้ค่าๆ นี้มีค่าเท่ากับ Qa นั้นจะมีค่าเท่ากับ

Qa = Qb / FSb + Qf / FSf

หากสังเกตดูจากสมการข้างต้นก็จะเห็นได้ว่า ค่าสัดส่วนความปลอดภัยหรือ FS ที่ใช้กับกรณีของ แรงฝืด และ แรงแบกทาน นั้นจะไม่ได้มีการใช้งานค่าเดียวกันนะครับ เนื่องด้วยเพราะความไม่แน่นอนของค่าทั้งสองนั้นจะอยู่ในระดับที่มีความน่าจะเป็นที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมหลายๆ อย่างด้วยกัน ซึ่งทั้งนี้โดยทั่วไปแล้วค่า FSb จะมีค่าประมาณ 3.00 และค่า FSf จะมีค่าประมาณ 1.50

ทั้งนี้เมื่อเราทำการตรวจสอบค่าจากการทำ BLOW COUNT เวลาที่ทำการตอกเสาเข็ม เราจะไม่สามารถหาค่าทั้ง 2 นี้แยกออกจากันได้ หน้าตาของสมการจึงเปลี่ยนไปเล็กน้อยเป็น

Qa = Qu / FS

ส่วนสาเหตุที่เรานิยมใช้ค่า FS เท่ากับ 2.50 นั่นเป็นเพราะหากว่าเราหาค่าเฉลี่ยระหว่าง FSb และ FSf ก็จะออกมามีค่าเท่ากับ

FS average = (3.00 + 1.50) / 2 = 2.25

เราจึงทำการปัดค่า FS นี้ขึ้นไปเป็น 2.50 ซึ่งพอทำแบบนี้ค่า FS ที่ใช้ก็จะมีค่าสูงกว่าค่า FS average อยู่เล็กน้อย เราจึงอนุมานว่าค่า FS ที่ใช้เท่ากับ 2.50 นี้ใช้ได้กับกรณีๆ นี้นั่นเองครับ

ในสัปดาห์หน้าผมจะขออนุญาตมาพูดถึงค่า FS ที่มาตรฐานการออกแบบอย่าง AASHTO 1992 แนะนำให้ใช้งาน และ ผมก็จะมาอธิบายด้วยว่าเพราะเหตุใดค่าเหล่านี้จึงถูกแนะนำให้ใช้งาน หากว่าเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษ ก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความนี้ของผมได้ครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ADMIN JAMES DEAN
#โพสต์วันพุธ
#ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้างเหนือและใต้ดิน
#เหตุใดจึงนิยมใช้ค่าสัดส่วนความปลอดภัยเท่ากับสองจุดห้าเวลาที่คำนวณหาค่าการรับน้ำหนักจากการตอกเสาเข็ม

Bhumisiamภูมิสยาม
ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
(1) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
(2) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
(3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สมอ.
(4) ได้รับมาตรฐาน มอก. ‭397-2524‬ เสาเข็ม Spun MicroPileDia 21, 25, 30 cm.
(5) ผู้ผลิต Spun MicroPileที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
(6) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
(7) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
(8) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
(9) ผู้ผลิต Spun MicroPileแบบ “สี่เหลี่ยม”
(10) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
Mr.Micropile

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
(1) สามารถทำงานในที่แคบได้
(2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
(3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
(4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
(5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
‭‭063-889-7987‬‬‬
‭082-790-1447‬
‭082-790-1448‬
‭082-790-1449‬