ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งานมาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับboring log spunmicropile micropile

เนื่องจากวันนี้เป็นวันแรกที่ผมจะเริ่มต้นถึงหัวข้อนี้อย่างจริงๆ จังๆ ผมจึงจะขอเริ่มต้นจากเรื่องพื้นฐานๆ ก่อนเลยก็แล้วกันซึ่งในวันนี้ผมจะมาอธิบายให้เพื่อนๆ ได้รับทราบถึงวัตถุประสงค์ของการทำการเจาะสำรวจดิน หรือ BORING LOG นั่นเองนะครับ

จริงๆ แล้ววัตถุประสงค์ในการทำการเจาะสำรวจดินนั้นมีอยู่ด้วยกันมากมายหลากหลายประการเลย แต่ ทั้งนี้เราก็สามารถที่จะทำการสรุปใจความสำคัญออกมาได้เป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้นะครับ

1) เพื่อประเมินความเหมาะสมของพื้นที่ในโครงการก่อสร้าง ในหลายๆ ครั้งที่การตัดสินจะเริ่มต้นทำงานก่อสร้างในโครงการหนึ่งๆ นั้นเป็นไปด้วยความยากลำบาก นั่นเป็นเพราะว่าไม่มีการทำ BORING LOG ดังนั้นจึงอาจถือได้ว่าขั้นตอนในการทำ BORING LOG นั้นเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการที่เราจะทำงานก่อสร้างในโครงการหนึ่งๆ เลยก็ว่าได้ครับ

2) เพื่อให้การออกแบบเป็นไปด้วยความ ประหยัด และ ถูกต้อง ทั้งงานหลักของโครงการ งานก่อสร้างชั่วคราว งานปรับปรุงคุณภาพดิน และการควบคุมน้ำใต้ดิน โดยหลายๆ ครั้งเราอาจจะพบว่าในโครงการก่อสร้างหลายๆ โครงการ ที่มีการก่อสร้างโครงสร้างส่วนบนเป็นอย่างดี แต่ โครงการนั้นๆ กลับล้มเหลว เพราะ โครงสร้างดินนั้นถูกละเลย ไม่ได้รับความใส่ใจตั้งแต่ทีแรก ทำให้ส่วนที่มีการต่อเชื่อมกันระหว่าง โครงสร้างส่วนล่าง และ โครงสร้างส่วนบน ซึ่งก็คือโครงสร้างฐานรากนั้นเกิดการวิบัติ หรือ ไม่เป็นไปตามพฤติกรรมที่ได้รับการออกแบบเอาไว้ทั้งนี้เพราะไม่มีการทำ BORING LOG หรือ อาจมีการทำ BORING LOG แต่จำนวนของข้อมูลที่ทำนั้นไม่เหมาะสมหรือไม่เพียงพอครับ

3) เพื่อการวางแผนการก่อสร้างที่ดีที่สุด ทั้งการเลือกวิธีก่อสร้าง การคาดคะเนและการแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในงานก่อสร้าง เพราะ ในหลายๆ ครั้งที่ข้อมูลจากการทำ BORING LOG จะช่วยให้เราสามารถที่จะทำการวางแผนงานการก่อสร้างให้ออกมา ดี มีความเหมาะสม และ สอดคล้อง กันกับสภาพจริงๆ ของดินในโครงการก่อสร้างได้ ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลสะท้อนกลับทำให้เกิดความประหยัดทั้งในเรื่อง เวลา และ งบประมาณ ในการก่อสร้าง ด้วยนะครับ

4) เพื่อการออกแบบที่ดีขึ้นหากมีปัญหาเกิดการวิบัติของ ดิน หรือ โครงสร้างฐานราก หรือ โครงสร้างเสาเข็ม ขึ้น สำหรับข้อนี้จะเป็นกรณีที่โครงการก่อสร้างนั้นมีขนาดใหญ่มากๆ โดยที่ตำแหน่งที่เกิดการวิบัตินั้นไม่ได้มีการทำ BORING LOG เอาไว้ ในการแก้ปัญหาเมื่อเกิดเหตุใดๆ ขึ้นการทำ BORING LOG จะช่วยผู้ออกแบบทางด้านข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดีเลยครับ

5) เพื่อทราบแหล่งของ ดิน ที่จะสามารถนำมาใช้ในโครงการก่อสร้างของเรา สาเหตุก็เป็นเพราะว่าในหลายๆ ครั้งที่การก่อสร้างนั้นเราจะสามารถที่จะนำดินภายในโครงการก่อสร้างมาใช้ในงานก่อสร้างเพื่อให้เกิดความประหยัดได้ แต่ พอไม่ทำการเจาะสำรวจดิน ก็เลยทำให้เราไม่อาจที่จะทราบได้ว่าลักษณะของดินในโครงการก่อสร้างของเรานั้นมีความเหมาะสมหรือไม่ สามารถที่จะนำมาใช้ ได้ หรือ ไม่

6) เพื่อเลือกพื้นที่สำหรับการกองเก็บวัสดุและลำเลียงทิ้งของเสีย จริงๆ ข้อดีข้อนี้จะคล้ายๆ กันกับข้อที่ 5 เพราะ การการกองเก็บวัสดุใดๆ ก็ดี หรือ การจะลำเลียงวัสดุใดๆ ออกจากสถานที่ก่อสร้างก็ดี หากทำการเจาะสำรวจดินเสียก่อนเราจะพบว่าข้อมูลจากการสำรวจดินจะมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจข้อนี้มากๆ บางครั้งหากว่าดินในสถานที่ก่อสร้างของเรานั้นมีคุณสมบัติที่ดีเพียงพอ เราอาจจะไม่จำเป็นต้องนำวัสดุต่างๆ ไปกองเก็บที่ภายนอกโครงการเลยก็มีความเป็นไปได้นะครับ

7) เพื่อประเมินความปลอดภัยของโครงสร้างขนาดใหญ่ที่มีดินรองรับอยู่ เช่น โครงสร้างเขื่อน เชิงลาดของภูเขา เป็นต้น เพราะ คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า งานพวกนี้ค่อนข้างที่จะมีความสำคัญต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนจำนวนมากจริงๆ ดังนั้นการตัดสินใจทำ BORING LOG ในโครงการเหล่านี้ดูจะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างมีความจำเป็นมากๆ เพราะ หากจะไม่ทำการเก็บข้อมูลดินในโครงการแบบนี้ก็ดูที่จะเป็นเรื่องที่แทบเป็นไปไมได้เลยครับ

8) เพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงของชั้นดินและสภาพแวดล้อมที่เกิดจากการก่อสร้าง หรือ เกิดตามธรรมชาติ ในอนาคตข้างหน้าได้อย่างแม่นยำและถูกต้องมากที่สุด ทั้งนี้ก็เป็นเพราะว่าเมื่อเวลาได้ล่วงเลยผ่านไป สภาพของชั้นดินในแต่ละท้องที่นั้นสามารถที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้เกือบจะตลอดเวลา ดังนั้นตั้งแต่ในอดีตไปจนถึงอนาคตแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงสภาพของดินนั้นจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด หรือ เป็นอย่างไร หากไม่มีการทำ BORING LOG เพื่อทดสอบหาคุณสมบัติต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้อง ก็คงจะเป็นเรื่องยากหากจะหาใครสักคนมานั่งเทียนบอกเล่าได้ว่าดินในโครงการก่อสร้างของเรานั้นจะมีแนวโน้มที่อาจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้หรือไม่นั่นเองนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์วันพฤหัสบดี 
#ความรู้เกี่ยวกับการเจาะสำรวจดิน 
#วัตถุประสงค์ของการเจาะสำรวจดิน

ADMIN JAMES DEAN

Bhumisiam ภูมิสยาม
ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
2) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
4) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
5) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
6) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
7) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
8) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
9) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
10) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
Mr.Micropile

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
☎ 081-634-6586
☎ 082-790-1447
☎ 082-790-1448
☎ 082-790-1449

#ไมโครไพล์ #สปันไมโครไพล์ #เสาเข็มไมโครไพล์ #เสาเข็มสปันไมโครไพล์ #เสาเข็ม #ตอกเสาเข็ม #micropile #spunmicropile #microspunpile #spunpile #microspun