การคำนวณทางด้านกลศาสตร์โครงสร้าง

การคำนวณทางด้านกลศาสตร์โครงสร้าง (STRUCTURAL MECHANICS COMPUTATION หรือ SMC)

k-เสาเข็มไมโครไพล์ Micropile สปันไมโครไพล์ Spun MicroPile 23-03

หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ การคำนวณทางด้านกลศาสตร์โครงสร้าง (STRUCTURAL MECHANICS COMPUTATION หรือ SMC) นะครับ

หากเพื่อนๆ เคยเปิดอ่าน TEXT BOOK หรือ ตำราวิชาการวิเคราะห์ทางด้านวิศวกรรมโครงสร้าง เพื่อนๆ หลายๆ คนอาจจะเคยเห็นรูปแบบของแรงกระทำชนิดแผ่กระจายตัวแบบสม่ำเสมอ (DISTRIBUTED LOAD) เหมือนเช่นในรูปๆ นี้ใช่หรือไม่ครับ และ เพื่อนๆ ทราบหรือไม่ครับว่าแรงกระทำทั้ง 3 รูปแบบที่เห็นในรูปๆ นี้เหมือนหรือต่างกันอย่างไร ?

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการอธิบายให้เพื่อนๆ ได้มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง นน บรรทุกประเภทนี้ว่าเหตุใดจึงมีการเขียนอยู่ในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปเช่นนี้ พร้อมกับ ตย ด้วยนะครับ

ก่อนอื่นเลยรูปทั้ง 3 นี้ล้วนแล้วแต่เป็น นน บรรทุกประเภทชนิดแผ่กระจายตัวแบบสม่ำเสมอทั้ง 3 รูปเลยนะครับ ซึ่งแน่นอนว่า นน บรรทุกชนิดนี้จะเป็น นน ที่กระทำต่อ ความยาว แบบสม่ำเสมอต่อคานรับแรงดัดที่ทำหน้าที่รองรับ นน บรรทุกนี้อยู่นะครับ ส่วนความตวามแตกต่างกันล่ะ ?

เรามาเริ่มต้นรูปทางด้านซ้ายมือสุดกันก่อนนะครับ นน ในรูปแบบๆ นี้จะเป็น นน ที่เกิดขึ้นใน แนวดิ่ง แต่ จะไม่ตั้งฉากกับคานรับแรงดัด แต่ ไม่ได้เกิดจากการถ่าย นน มาลงบนโครงสร้างคานรับแรงดัดโดยตรงนั่นเองนะครับ เช่น นน ของโครงสร้างส่วนอื่นๆ หรือ นน ของงานระบบอื่นๆ ที่ถ่าย นน มาลงยังคานชุดนี้ทางอ้อม เป็นต้นครับ

ต่อมารูปที่สอง นน ในรูปแบบๆ นี้จะเป็น นน ที่เกิดขึ้นใน แนวดิ่ง เหมือนกันกับในรูปแรก แต่ จะไม่ตั้งฉากกับคานรับแรงดัด และ เกิดจากการถ่าย นน มาลงบนโครงสร้างคานรับแรงดัดโดยตรงนั่นเองนะครับ เช่น นน ของโครงสร้างส่วนอื่นๆ หรือ นน ของงานระบบอื่นๆ ที่ถ่าย นน มาลงยังคานชุดนี้โดยตรง เป็นต้นครับ

รูปสุดท้ายรูปที่สาม นน ในรูปแบบๆ นี้จะเป็น นน ที่เกิดขึ้นใน แนวระนาบเอียง และ จะตั้งฉากกับคานรับแรงดัด และ เกิดจากการถ่าย นน มาลงบนโครงสร้างคานรับแรงดัดโดยตรงนั่นเองนะครับ เช่น นน ของโครงสร้างส่วนอื่นๆ หรือ นน ของงานระบบอื่นๆ ที่ถ่าย นน มาลงยังคานชุดนี้โดยตรง เป็นต้นครับ

แล้วเพื่อนๆ สงสัยหรือไม่ครับว่า นน ที่กระทำบนคานทั้ง 3 รูปแบบนี้มีวิธีการวิเคราะห์โครงสร้างเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ?

วันพรุ่งนี้และวันต่อๆ ไปผมจะทำการยก ตบ ผ่านรูป พร้อมกับอธิบายหลักในการวิเคราะห์โครงสร้างคานทั้ง 3 รูปแบบนี้ให้แก่เพื่อนๆ ทุกๆ คนนะครับ เพื่อนๆ ท่านใดสนใจก็สามารถที่จะติดตามกันได้นะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ