การออกแบบงานวิศวกรรมพลศาสตร์โครงสร้าง (STRUCTURAL DYNAMICS DESIGN ENGINEERING หรือ SDE)
หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ การออกแบบงานวิศวกรรมพลศาสตร์โครงสร้าง (STRUCTURAL DYNAMICS DESIGN ENGINEERING หรือ SDE) นะครับ
วันนี้ผมมีรูป ตัวอย่าง ที่เกิดขึ้นจริงสำหรับกรณีที่โครงสร้างอาคารนั้นเกิดการวิบัติอันเนื่องมาจากไม่สามารถต้านทานต่อ นน บรรทุกแรงลม (WIND LOAD) ที่เกิดขึ้นโดยที่แรงลมที่เกิดขึ้นนี้มีค่าที่สูงและมีความแปรปรวนและกรรโชกมาก ได้เข้ามาปะทะกับตัวอาคารจน อาคารนี้เกิดการวิบัติขึ้น
ที่สำคัญคือเหตุการณ์นี้เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ย้ำเตือนให้แก่พวกเรา ได้ทราบว่าเพราะเหตุใดวิศวกรโครงสร้างจึงควรที่จะต้องคำนึงถึงแรงกระทำในลักษณะแบบนี้ในการออกแบบโครงสร้างอาคารด้วยเสมอ
โดยปกติวิศวกรมักที่จะทำการออกแบบให้อาคารๆ หนึ่งนั้นสามารถที่จะต้านทานต่อ นน บรรทุกในแนวดิ่ง (GRAVITY LOAD) ได้อยู่แล้ว เช่น นน บรรทุกคงที่ (DEAD LOAD) นน บรรทุกจร (LIVE LOAD) เป็นต้น จากนั้นก็จะค่อยทำการออกแบบให้อาคารนั้นสามารถที่จะต้านทานต่อ นน บรรทุกทางด้านข้างได้ (LATERAL LOAD) เช่น นน บรรทุกแรงลม (WIND LOAD) นน บรรทุกแรงแผ่นดินไหว (SEISMIC LOAD) เป็นต้น แต่ ก็ต้องยอมรับว่ามักที่จะมีวิศวกรส่วนน้อยบางคนที่อาจจะหลงลืม หรือ ละเลยต่อการออกแบบแรงกระทำทางด้านข้างนี้ไป หากว่าบังเอิญ “โชคดี” เพราะ ว่า นน บรรทุกแรงลมที่เกิดขึ้นกับอาคารนั้นมีไม่มาก ซึ่งอาจจะเนื่องด้วยปัจจัยแวดล้อมต่างๆ อาคารก็อาจที่จะไม่เกิดการวิบัติขึ้น แต่ หากว่า “โชคไม่ดี” เพราะ น้ำหนัก บรรทุกแรงลมนั้นเกิดมีความวิกฤติขึ้นมาจะด้วยเหตุผลกลใดก็แล้วแต่ จนทำให้ นน บรรทุกแรงลมนั้นเกิดขึ้นมากกว่าที่เคยได้คาดหมายเอาไว้จนในที่สุดอาคารก็จะไม่สามารถที่จะต้านทานต่อน้ำหนักบรรทุกประเภทดังกล่าวได้อาคารนั้น ก็จะเกิดการวิบัติขึ้นนะครับ
ปล 1 เพื่อนๆ น่าที่จะเข้าใจว่า คำว่า “โชคดี” และ “โชคไม่ดี” ของผมไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพยากรณ์หรือดวง ทั้งสิ้นนะครับ แต่ความหมายของสองคำนี้นั้นจะหมายถึง ค่าความน่าจะเป็น หรือ PROBABILITY ว่าอาคารที่สร้างขึ้นในสถานที่และทำเลที่แตกต่างกันออกไปก็ย่อมมีค่าความเสี่ยงภัยต่อน้ำหนักบรรทุกประเภทต่างๆ ในระดับที่ย่อมมีความแตกต่างกันออกไปนั่นเองนะครับ
ในปัจจุบันในประเทศไทยของเรามีมาตรฐานสำหรับการออกแบบ นน บรรทุกแรงลม หลายมาตรฐานแล้วนะครับ เช่น มาตรฐาน วสท จัดทำโดยวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย หรือ มาตรฐาน มยผ ขัดทำโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง เป็นต้น ดังนั้นผมจึงอยากที่จะขอฝากเพื่อนๆ ทุกๆ คนไว้อีกครั้งหนึ่งว่า อย่าได้ละเลยการออกแบบ นน บรรทุกประเภทนี้เลยนะครับ เพราะ หากท่านละเลย ไม่ทำการออกแบบให้อาคารสามารถที่จะต้านทานต่อ นน บรรทุกประเภทนี้ และ อาคารเกิดการวิบัติขึ้น ลองตั้งคำถามเพื่อตอบตัวท่านเองว่า ในฐานะของวิศวกรผู้ทำการออกแบบอาคารหลังนี้ ท่านจะสามารถรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นได้หรือไม่ ?
ปล 2 ภาพเหตุการณ์ในโพสต์ๆ นี้เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ณ ห้างแห่งหนึ่งใน บ. สร้างขุ่ย อ. พังโคน จ. สกลนคร และ ผมต้องขอแสดงความเสียใจต่อผู้เสียหายทุกๆ ท่านที่ต้องประสบพบเจอกับเหตุการณ์ๆ นี้มา ณ โอกาสนี้ด้วยนะครับ และ ก็คาดหวังประเทศไทยของเราจะไม่เกิดเหตุการณที่อาคารนั้นเกิดการวิบัติแบบนี้อีกเลยนะครับ
ปล 3 ผมต้องขอขอบคุณพี่หนุ่ยที่ได้อุตสาห์นำรูปเหล่านี้มาเล่าสู่กันฟังและยังได้อนุญาตให้ผมนำรูปเหล่านี้มาเผยแพร่เพื่อเป็นวิทยาทานให้แก่พวกเราทุกๆ คนได้ดูเพื่อเป็นอุธาหรณ์และเป็นกรณีศึกษาที่ดีมากๆ กรณีหนึ่งมา ณ โอกาสนี้ด้วยอีกครั้งหนึ่งนะครับ
หวังว่าความรู้ และ ข่าวสารเล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ