สภาพของเสาเข็มแบบนี้ถือว่าเป็นที่ยอมรับได้หรือไม่
รูปที่ 1 เป็น ตัวอย่าง ของกรณีนี้กันนะครับ เพื่อนๆ จะสามารถสังเกตเห็นได้ว่ามีช่องว่างเล็กๆ ที่บริเวณรอยต่อระหว่างท่อนเสาเข็มในรูปได้ด้วยตาเปล่าเลยนะครับ
ก่อนอื่นผมขอเริ่มต้นอธิบายกับเพื่อนๆ แบบนี้ก็แล้วกันนะครับ เพื่อนๆ น่าจะทราบกันดีอยู่แล้วนะครับว่าวัสดุหลักที่ถูกนำมาใช้ผลิตตัวโครงสร้างเสาเข็มนั้น คือ คอนกรีต ซึ่งคุณสมบัติประจำตัวอย่างหนึ่งของคอนกรีตที่เราจะพบเห็นได้ในทุกๆ ที่เลยก็คือ การหดตัว หรือ ที่เราเรียกกันว่า SHRINKAGE นั่นเองนะครับ ซึ่งการหดตัวนี้มักจะเกิดขึ้นได้เสมอนะครับ เพราะ เวลาที่วิศวกรทำการออกแบบจะต้องทำการเสริมเหล็กเพื่อที่จะต้านทานการยืดหดตัวนี้อยู่แล้ว
โดยปกติแล้วเมื่อเริ่มต้นทำการหล่อเสาเข็ม ช่างก็จะทำการเทคอนกรีตจนเต็มแบบ แต่ การหดตัวจะเกิดขึ้นภายหลังจากที่คอนกรีตนั้นเริ่มที่จะเกิดการแข็งตัวไปแล้วนะครับ ดังนั้นหากว่าช่องว่างนี้ไม่ได้มากจนเกินไปเราก็จะถือว่าสภาพดังกล่าวนี้เป็นที่ยอมรับได้นะครับ แต่ หากว่าการหดตัวนี้เกิดขึ้นมากจนเกินไป เราก็อาจจะไม่ทำการยอมรับ (REJECT) เสาเข็มต้นนั้นๆ ได้นะครับ ทั้งนี้เรื่องๆ นี้ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของผู้ควบคุมงานเป็นหลักนะครับ
พอผมอธิบายมาถึงจุดๆ นี้ผมก็ยังเชื่อเหลือเกินนะครับว่าเพื่อนๆ ที่อาจไม่ใช่วิศวกรอาจจะยังมีคำถามในใจอยู่นะครับว่าพฤติกรรมการหดตัวที่เกิดขึ้นในคอนกรีตที่ใช้ทำการก่อสร้างเสาเข็มนี้จะส่งผลอะไรต่อพฤติกรรมในการรับกำลังของเสาเข็มหรือเปล่า ?
ผมขออนุญาตอธิบายประเด็นๆ นี้กับเพื่อนๆ แบบนี้นะครับ เนื่องจากที่รอยต่อของเสาเข็มเหล่านี้จะมีการใช้แผ่นเหล็กประกบกันทุกๆ รอยต่อ และ จากนั้นก็ทำการเชื่อมประสานกันอย่างสมบูรณ์ จากนั้นค่อยทำการตอกเสาเข็มต้นนี้ต่อไป ดังนั้นเมื่อเสาเข็มต้องรับแรงใดๆ ไม่ว่าจะเป็น แรงดึง หรือ แรงอัด ก็ตาม แรงเหล่านี้ก็จะถูกส่งผ่านไปโดยรอยเชื่อมเหล่านี้อยู่แล้วนะครับ
ตามปกติแล้วคอนกรีตจะมีคุณสมบัติการรับแรงอัดที่ดี แต่ จะมีพฤติกรรมการรับแรงดึงที่ถือว่าไม่ค่อยดี ดังนั้นหากว่าเสาเข็มของเราต้องรับแรงดึง (NEGATIVE SKIN FRICTION) จริงๆ ก็ไม่ใช่ปัญหาที่ต้องกังวลนะครับ เพราะ แรงดึง ที่เกิดขึ้นก็จะถูกส่งผ่านไปโดยรอยเชื่อมนั่นเอง
ทีนี้ก็จะเหลือแต่ แรงอัด นะครับ ผมขออธิบายโดยยก ตัวอย่าง ประกอบแบบนี้ก็แล้วกันนะครับ โดยใน ตัวอย่าง ที่ผมนำมาเสนอต่อเพื่อนๆ ในวันนี้เป็นการทดลองง่ายๆ โดยอาศัยขนมจำพวกข้าโพดอบกรอบ (ในการทดลองนี้ผมใช้ ขนมข้าวโพดอบกรอบ รสนม จากเซเว่น อีเลฟเว่น นะครับ) หากเพื่อนๆ จะทำการทดลองนี้ด้วยตัวเองก็ได้นะครับ เพราะ ทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง และ จะช่วยทำให้เข้าใจพฤติกรรมๆ นี้ได้ดียิ่งขึ้นด้วยครับ
เพื่อนๆ จะเห็นได้ว่าผมทำเครื่องหมายเพื่อที่จะ REFERENCE ตำแหน่งเอาไว้ด้วย ทั้งนี้เพื่อที่จะให้เพื่อนๆ เห็นว่าผมไม่ได้ทำการเปลี่ยนตำแหน่งของขนมอบกรอบทั้งก่อนและหลังการทดลองนะครับ และ สาเหตุที่ผมทำการทดลองนี้ข้างหน้าโคมไฟก็เพื่อที่จะให้เพื่อนๆ สามารถที่จะมองเห็นได้นะครับ ว่าจะมีแสงลอดผ่านรอยต่อที่ขอบระหว่างขนมทั้ง 2 ชิ้นนี้หรือไม่นั่นเองนะครับ
เรามาดูรูปที่ 2 ต่อนะครับ ผมทำการนำขนมข้าวโพดอบกรอบจำนวน 2 ชิ้น มาวางซ้อนกัน โดยที่ในตอนเริ่มต้นผมแค่ทำการวางซ้อนกันเฉยๆ ไม่ได้ออกแรงกดขนมทั้งสองชิ้นเข้าด้วยกัน เพื่อนๆ จะเห็นได้ว่าที่บริเวณขอบของขนมทั้ง 2 ชิ้นนี้ (หรือ จะของทั้งถุงก็ได้นะครับ) จะไม่ได้เรียบ 100% นะครับ เพื่อนๆ จะเห็นได้ว่าที่รอยต่อของขนมทั้ง 2 ชิ้นนี้จะเห็นเป็นช่องว่างเล็กๆ โดยที่แสงสามารถที่จะลอดผ่านได้ด้วยตาเปล่าเลยนะครับ
ดูรูปที่ 3 ต่อนะครับ หลังจากที่ผมได้นำขนมข้าวโพดอบกรอบจำนวน 2 ชิ้น มาวางซ้อนกันแล้ว โดยที่ในตอนแรกผมแค่ทำการวางซ้อนกันเฉยๆ ไม่ได้ออกแรงกดขนมทั้งสองชิ้นเข้าด้วยกัน ต่อมาในรูปๆ นี้ผมจะทำการออกแรงกดขนมทั้ง 2 ชิ้นนี้เข้าด้วยกัน หรือ พูดง่ายๆ คือทำการส่งผ่าน แรงอัด เข้าไปในขนมทั้ง 2 ชิ้นนี้นะครับ เพื่อนๆ จะเห็นได้ว่าช่องว่างเล็กๆ ที่เคยมองเห็นได้จากในรูปที่ 2 จะหายไปแล้วนะครับ
สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ แรงอัด ที่ถูกส่งผ่านขนมทั้ง 2 ชิ้นนี้นั่นเองนะครับ ในทำนองเดียวกันกับโครงสร้างเสาเข็มก็เช่นกันนะครับ ในตอนแรกเมื่อโครงสร้างเสาเข็มถูกทำการวางซ้อนกันเฉยๆ โดยยังไม่ได้ถูกออกแรงกด ก็จะทำให้เห็นช่องว่างเล็กๆ นี้ได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งช่องว่างเล็กๆ นี้เกิดจากการหดตัวของคอนกรีตตามที่ผมได้อธิบายไปในตอนต้นแล้วนะครับ ดังนั้นเมื่อโครงสร้างเสาเข็มนี้ถูกส่งผ่านแรงอัดเข้าไป ก็จะทำให้ผิวสัมผัสที่เคยไม่เรียบนี้แนบสนิทกันในที่สุดนั่นเองนะครับ
สภาพตามปกติของโครงสร้างเสาเข็มนั้นจะมีพฤติกรรมของโครงสร้างที่จะต้องรับแรงอัดอยู่ตลอดเวลานับตั้งแต่เริ่มทำการตอกเสาเข็มลงไปในดินอยู่แล้วนะครับ ดังนั้นเมื่อเราเริ่มใช้งานโครงสร้างเสาเข็มๆ ก็จะค่อยถูกเพิ่มแรงอัดเข้าไปทีละน้อยๆ และ จะมีแรงอัดมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นสภาพของเสาเข็มจะมีพฤติกรรมที่ค่อยๆ เป็นไปตามที่ผมได้ทำการทดลองนี้ให้เพื่อนๆ ได้รับชมกันไปนะครับ ดังนั้นเมื่อเราเริ่มใช้งานโครงสร้างเสาเข็มนี้ ช่องว่างเล็กๆ เหล่านี้ก็จะหายไปแทบจะในทันทีเลยนะครับ ก็ขอให้เพื่อนๆ สบายใจกันได้นะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ADMIN JAMES DEAN
BSP-Bhumisiam
ผู้ผลิตรายแรก SPUN MICRO PILE
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. มาตราฐาน397-2524 เสาเข็ม Spun Micro Pile
2) ผู้ผลิต Spun Micro Pile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตราฐาน จาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun Micro Pile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun Micro Pile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมันนี
6) ผู้ผลิต Spun Micro Pile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile)
สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก.
ติดต่อ สายด่วน โทร :
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
ID LINE :
LINE ID1 = bhumisiam
LINE ID2 = 0827901447
LINE ID3 = 0827901448
LINE ID4 = bsp15
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด
http://www.ไมโครไพล์.com
#Micropile
#SpunMicropile
#ไมโครไพล์
#สปันไมโครไพล์
#เสาเข็มไมโครไพล์
#เสาเข็มสปันไมโครไพล์