สวัสดีครับ วันนี้ Mr.เสาเข็ม จะมาต่อยอดถึงสาระและความรู้จากเมื่อวานกันนะครับ วันนี้จะเป็นเรื่องของประเภท และ คุณสมบัติหลักๆ ของยางมะตอย
ยางมะตอยจะเป็นกากที่เหลือจากการกลั่นน้ำมันดิบ ทำให้มีลักษณะเหนียวหนืด ไม่เหมือนกับน้ำมันเบนซิน หรือ ดีเซล ที่ได้จากการกลั่นเช่นกัน โดยเนื่องจากการที่กระบวนการในการผลิตยางมะตอยนั้นได้มาจากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม โดยที่ยางมะตอยจะเป็นส่วนหนึ่งของน้ำมันดิบที่มี นน มากที่สุด และ จะถูกนำไปผ่านกระบวนการๆ ผลิตยางมะตอยต่อไปนะครับ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ได้ยางมะตอยที่มีคุณสมบัติต่างๆ ดังที่เราต้องการนะครับ โดยที่ประเภทของยางมะตอยนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกัน ดังนี้ครับ
(1) ASPHALT CEMENT
ยางมะตอยประเภทนี้บางครั้งก็มีชื่อย่อว่า AC ซึ่งได้มาจากการกลั่นน้ำมันดิบ โดยจะเป็นส่วนที่มีความข้นและมี นน มากที่สุด ยางมะตอยประเภทนี้จะมีหลายเกรด แบ่งออกตาม ความอ่อน ความแข็ง ราคาถูก โดยที่ยางมะตอย AC นี้จะเป็นยางแข็ง ต้องให้ความร้อนถึงจะละลายกลายเป้นของเหลว และ มีเอาไว้ใช้ทำงานปูพื้นผิวของถนนเท่านั้น เช่น ยางมะตอย AC เกรด 60/70 เป็นต้นครับ
(2) ASPHALT EMULSION
ยางมะตอยประเภทนี้บางครั้งก็มีชื่อย่อว่า CSS และบางครั้งก็ถูกเรียกว่า ยางมะตอยน้ำ ยางมะตอยชนิดนี้ได้จากการนำยาง ASPHALT มาตีให้กระจายเป็นอนุภาคเล็กๆ จากนั้นก็ค่อยนำไปใส่ในน้ำ ซึ่งสามารถทำให้เป็นเนื้อเดียวกันได้ โดยก่อนนำไปใช้งานเราจะต้องทำการผสมกับสารเคมีประเภท อิมัลซิไฟเออร์ (EMULSIFIER) เสียก่อน โดยที่น้ำใน ASPHALT EMULSION จะระเหยตัวไปหมด คงเหลือไว้เพียงแต่เนื้อ ASPHALT ให้เกาะตัวกันเป็นฟิล์มที่จะคอยเคลือบหุ้มวัสดุมวลรวม หรือ พื้นผิวงานทางที่จะใช้ในงานซ่อมถนนเป็นหลักนะครับ เช่น ยางมะตอย CSS-1 เป็นต้นครับ
(3) CUT-BACK ASPHALT
ยางมะตอยประเภทนี้บางครั้งก็มีชื่อย่อว่า MC ได้มาจากการผสม ASPHALT CEMENT กับ สารทำละลาย (SOLVENT) ผสมกันจนเข้ากันดีเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อผสมกันแล้วและเกิดการแข็งตัวเมื่อใด สารทำละลายก็จะระเหยตัวไป ควงเหลือไว้เพียงแต่ ASPHALT CEMENT นะครับ เช่น ยางมะตอยเกรด MC-30 ซึ่งยางเกรดนี้จะมีการใช้งานที่อุณหภูมิประมาณ 30 องศา ถึง 90 องศา หรือ MC-70 ซึ่งยางเกรดนี้จะมีการใช้งานที่อุณหภูมิประมาณ 50 องศา ถึง 110 องศา เป็นต้นครับ โดยที่ปกติแล้วเราจะนำยาง CUT-BACK ASPHALT นี้ไปใช้ทำงานการ รองพื้น (PRIME COAT) ก่อนที่จะลาดยางเพื่อที่จะป้องกันการไหลซึมผ่านของน้ำลงไปยังชั้นของพื้นดินที่ถูกบดอัดไว้ก่อนนะครับ
(4) POLYMER MODIFIED ASPHALT
ยางมะตอยประเภทนี้ คือ ยางมะตอยเกรดพิเศษ ที่ได้จากการผสมระหว่างสารโพลิเมอร์ (POLYMER) กับ ASPHALT CEMENT ภายใต้กระบวนการผสมที่ดำเนินการในโรงงานที่ทำการผลิตยางมะตอยโดยการอาศัยเครื่องผสมที่ออกแบบมาโดยเฉพาะนั่นเองครับ
โดยที่คุณสมบัติหลักๆ ของยางมะตอยนั้นมีดังนี้ครับ
– ยางมะตอยมีความต้านทานต่อการล้าที่ดี (GOOD FATIGUE RESISTANCE)
– ยางมะตอยมีความต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงรูปร่างอย่างถาวรที่ดี (GOOD PAVEMENT DEFORMATION)
– ยางมะตอยมีความยืดหยุ่นตัวสูง (HIGH ELASTICITY)
– ยางมะตอยมีความต้านทานต่อการบิดตัวระหว่างมวลรวมกับวัสดุเชื่อมประสานที่ค่อนข้างดี
– ยางมะตอยมีความต้านทานต่อการหลุดลอกที่ดี (GOOD STRIPPING RESISTANCE)
– ยางมะตอยจะมีอัตราการไหลเยิ้มของวัสดุที่ทำหน้าที่เชื่อมประสานที่ค่อนข้างต่ำ (LOW BLEEDING RATIO)
หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1518058018240318
BSP-Bhumisiam
ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
2) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand
รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
6) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449