ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1301145146598274:0
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
วันนี้ผมจะขออนุญาตมาตอบคำถามให้แก่เพื่อนของผมท่านหนึ่งบนเฟซบุ้คแห่งนี้ที่เพื่อนท่านนี้ได้หลังไมค์มาให้ผมช่วยอธิบายถึงค่าโมดูลัสของแรงเฉือน (SHEAR MODULUS) หรือค่าโมดูลัสของความคงรูป (MODULUS OF RIGIDITY) ที่เรานิยมเขียนแทนด้วยค่า G นั่นเองครับ ค่าๆ นี้ถือเป็นปริมาณที่มีประโยชน์มากค่าหนึ่งในทางกลสาสตร์ของวัสดุ ซึ่งชื่อของมันก็ชัดเจนอยู่แล้วนะครับว่าหากวัสดุใดที่มีคุณสมบัติค่าๆ นี้ที่สูง ก็ย่อมที่จะมีค่าการต้านทานต่อแรงเฉือนหรือมีคุณสมบัติทางด้านความคงรูปที่สูงตามไปด้วย
โดยเราจะสามารถทำการทดสอบหาค่านี้ได้โดยสมมติฐานที่ว่าวัสดุนั้นมีการเสียรูปเป็นไปตามกฎของฮุค (HOOK’S LAW) โดยค่าที่จะนำมาใช้พิจารณาในการคำนวณค่าๆ นี้จะต้องเป็นค่าความเค้นและความเครียดที่อยู่ในช่วงเชิงเส้นเท่านั้น
เราสามารถที่จะให้นิยามค่าโมดูลัสของแรงเฉือน (SHEAR MODULUS) หรือค่า โมดูลัสของความคงรูป (MODULUS OF RIGIDITY) ได้จากอัตราส่วนระหว่างค่าความเค้นเชิงเฉือนเชิงเส้น (LINEAR SHEAR STRESS) ต่อ ค่าความเครียดเชิงเฉือนเชิงเส้น (LINEAR SHEAR STRAIN) ซึ่งจะละม้ายคล้ายคลึงกับหลักการในการคำนวณหาค่าโมดูลัสของความยืดหยุ่น (MODULUS OF ELASTICITY) ที่หาได้จากอัตราส่วนระหว่างค่าความเค้นตั้งฉากเชิงเส้น (LINEAR NORMAL STRESS) ต่อ ค่าความเครียดตั้งฉากเชิงเส้น (LINEAR NORMAL STRAIN) กล่าวคือหาก
ค่าความเค้นตั้งฉากเชิงเส้นเท่ากับ σ
ค่าความเครียดตั้งฉากเชิงเส้นเท่ากับ εn
ค่าความเค้นเฉือนเชิงเส้นเท่ากับ S
ค่าความเครียดเฉือนเชิงเส้นเท่ากับ εs
ดังนั้นค่า
E = σ/εn
และค่า
G = S/εs
หรือเราอาจใช้ความสัมพันธ์ระหว่างความเค้นและความเครียดตามกฎของฮุคหาค่า G นี้ได้ตามรูปที่ผมแนบมาด้วยก็ได้ครับ
ในโอกาสหน้าไปผมจะพยายามหาและนำ ตย ในการนำค่า G นี้ไปใช้ในการคำนวณทางด้านกลศาสตร์แก่เพื่อนๆ ได้ดูกันต่อไปนะครับ
Today I’m going to answer one of the questions asked from my beloved friend on facebook. The question is please explain the word shear modulus or sometimes called shear modulus that we frequently write as the value G.
In mechanics of material this value is one if a very useful value, and the name itself could already clarified it’s property very well enough. Hence, if we find a material consist of this G value in a high amount that means that the material have a very high shear resistance as well.
We can determine this value from the assumption that the material must have a deformed behavior according to Hook’s law where the stress and strain use in the computation must be in the linear range only.
The shear modulus or the modulus of rigidity could be simply define by the value of linear shear stress over the linear shear strain which this is very similar to when we compute the modulus of elasticity by using the value of linear normal stress over the value of linear normal strain, and it could be written as a simple equation if:
The value of linear normal stress is σ
The value of linear normal strain is εn
The value of linear shear stress is S
The value of linear shear strain is εs
Hence, the value will be according to the relationship of
E = σ/εn
and
G = S/εs
Or we use the relationship between the stress and strain according to Hook’s law to determine the G value as well. You can see in the attached figure for this equation.
In the next occasion I’ll try to find a good computation example in using this value in calculating problems in structural mechanics for all of you.
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากพี่แขก และ เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่
ADMIN JAMES DEAN
BSP-Bhumisiam
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดผนังกำแพง ไม่ทำให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile) สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก. ของ ภูมิสยาม ซัพพลาย ติดต่อ สายด่วน โทร 081-634-6586