สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
กลับมาพบกันในทุกๆ วันจันทร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” นะครับ
สืบเนื่องจากเมื่อในสัปดาห์ที่แล้วผมได้เดินทางไปตรวจสอบการทำงานที่หน้างานและก็มีน้องวิศวกรท่านหนึ่งสอบถามผมเกี่ยวกับเรื่อง “พฤติกรรมของการแตกร้าวในคอนกรีต” ซึ่งเอาเข้าจริงๆ ผมก็ได้ให้คำอธิบายในเบื้องต้นไปบ้างแล้ว ดังนั้นในทุกๆ วันจันทร์ของช่วงนี้ผมก็เลยอยากจะขออนุญาตนำเอาความรู้เกี่ยวกับเรื่อง คุณสมบัติเรื่องการแตกร้าวที่เกิดขึ้นในคอนกรีต เอามาเล่าสู่กันฟังกับเพื่อนๆ ซึ่งเนื้อหาโดยส่วนใหญ่นั้นตัวผมเองนั้นก็เคยได้นำเอามาเผยแพร่ให้กับเพื่อนๆ ในรูปแบบของบทความไปก็นานพอสมควรแล้วแต่ไม่เป็นไรนะ เอาเป็นว่าหากเพื่อนๆ ท่านใดที่อาจจะเคยได้มีโอกาสอ่านบทความในครั้งนั้น ก็คิดเสียว่าในครั้งนี้เรามาอ่านเพื่อทบทวนความรู้เกี่ยวกับเรื่องๆ นี้ไปด้วยกันก็ได้นะครับ
ก่อนอื่นผมขอย้ำกับพวกเราให้จำเอาไว้ให้แม่นเลยว่าวัสดุ “คอนกรีต” นั้นไม่ใช่ “วัสดุที่มีความเป็นเนื้อเดียวกันอย่างสมบูรณ์จริงๆ” ซึ่งในภาษาอังกฤษนั้นเราจะมีชื่อเรียกวัสดุประเภทนี้ว่า NON-HOMOGENEOUS MATERIAL ดังนั้นวัสดุประเภทดังกล่าวนี้จะมีพฤติกรรมบางอย่างที่จะไม่เป็นไปตามกฎต่างๆ ของ “วัสดุที่มีความเป็นเนื้อเดียวกันอย่างสมบูรณ์” ชนิดอื่นๆ ที่มีการใช้ในงานวิศวกรรมโครงสร้าง เช่น โลหะ เหล็ก พลาสติก เป็นต้น ซึ่งในภาษาอังกฤษนั้นเราจะมีชื่อเรียกวัสดุประเภทนี้ว่า HOMOGENEOUS MATERIAL นะครับ
คุณที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ คอนกรีตนั้นยิ่งมีอายุมากขึ้นเท่าใดก็จะยิ่งมีการสูญเสียน้ำในตัวเองออกไปมากขึ้นทุกทีแต่ก็จะเป็นการสูญเสียแบบค่อยเป็นค่อยไปเพราะต้องทำความเข้าใจก่อนว่า คอนกรีต นั้นเป็นวัสดุที่มี “ความพรุน” เป็นคุณสมบัติหลักอยู่แล้ว ดังนั้นหากมี ความชื้น หรือ น้ำ จากภายนอกเข้ามา มันก็อาจจะเข้ามาแทนที่รูพรุนเหล่านี้ได้แต่ปริมาตรของคอนกรีตนั้นก็จะไม่เพิ่มเติมขึ้นจากปริมาตรในตอนเริ่มแรกอย่างแน่นอนและถึงแม้ว่าเราจะทราบกันดีว่าตามธรรมชาติของคอนกรีตทั่วๆ ไปนั้น ภายหลังจากที่ได้เริ่มเกิดการแข็งตัวแล้วก็จะมีโอกาสที่จะเกิดพฤติกรรมการ “ขยายตัว” และ “หดตัว” ได้เป็นปกติเหมือนกันกับวัสดุที่ใช้ในงานวิศวกรรมโครงสร้างที่มีการใช้งานประเภทอื่นๆ ได้อยู่แล้ว ซึ่งแน่นอนว่าพฤติกรรมดังกล่าวนั้นก็จะเกิดอันเนื่องมาจาก ความชื้น และ อุณหภูมิ แต่หากศึกษาและทำความเข้าใจถึงกลไกจริงๆ ของกรรมวิธีในการผลิตคอนกรีตแล้วก็จะพบว่า มันจะมีความแตกต่างออกไปจากวัสดุชนิดอื่นๆ เช่นเดียวกัน ดังนั้นตามปกติแล้วก็จะพบว่า วัสดุคอนกรีตนั้นจะเกิดเฉพาะเพียงแค่การหดตัวเพียงเท่านั้น ซึ่งก็คือสาเหตุของการเกิดการแตกร้าวของคอนกรีตในช่วงอายุเริ่มต้นนั่นเองครับ
เอาละ กลับมาที่บทความของเราต่อ ไม่ทราบว่าเพื่อนๆ เคยสังเกตกันบ้างหรือไม่ว่า ไม่ว่าเราจะทำการผสมคอนกรีตเองหรือจะสั่งคอนกรีตผสมเสร็จมาใช้ที่หน้างานก็แล้วแต่ ในบางครั้งก็มักจะเกิดรอยร้าวขึ้นในเนื้อคอนกรีตขึ้น ไม่มากก็น้อย ซึ่งเราจะสามารถทำการจำแนกถึงสาเหตุของการแตกร้าวเหล่านี้ออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่
1. การแตกร้าวที่มีสาเหตุมาจากงานโครงสร้าง (STRUCTURAL CRACK)
2. การแตกร้าวที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากงานโครงสร้าง (NON-STRUCTURAL CRACK)
เราจะมาดูไปทีละหัวข้อพร้อมๆ กันโดยเริ่มต้นที่การแตกร้าวที่มีสาเหตุมาจากงานโครงสร้าง (STRUCTURAL CRACK) ซึ่งก็อาจจะเกิดได้จากสาเหตุหลักๆ 3 ประการ นั่นก็คือ
(1.1.1) การแตกร้าวของคอนกรีตเนื่องจากการออกแบบที่ไม่ถูกต้อง ขาดความเหมาะสม เช่น การคำนวณออกแบบ หรือ การให้รายละเอียดของการเสริมเหล็กที่ไม่ถูกต้อง เป็นต้น
(1.1.2) การแตกร้าวของคอนกรีตเนื่องจากการใช้วัสดุก่อสร้างไม่มีคุณภาพ เช่น ใช้หินที่ผุ ใช้หินที่มีดินปนมากจนเกินไป ทรายมีความสกปรก น้ำที่ใช้ผสมคอนกรีตสกปรก หรือ ทำการผสมคอนกรีตไม่ได้สัดส่วนที่ถูกต้อง รวมถึงการใช้เหล็กเสริมที่เป็นสนิม เป็นต้น
(1.1.3) การแตกร้าวของคอนกรีตผสมเสร็จเนื่องจากการก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น การผสม การขนส่ง การเทลงแบบ การหล่อคอนกรีตที่ไม่ดีพอ การถอดค้ำยันก่อนกำหนด ขาดการบ่มคอนกรีตที่ดีพอ หรือ แบบหล่อ คอนกรีตเกิดการโก่งงอขึ้น เป็นต้น
มาต่อกันที่การแตกร้าวที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากงานโครงสร้าง (NON-STRUCTURAL CRACK) กันบ้าง ซึ่งก็อาจจะเกิดได้จากสาเหตุหลักๆ 3 ประการ ดังต่อไปนี้
(2.1.1) การหดตัวของคอนกรีต
(2.1.2) การทรุดตัวของคอนกรีต
(2.1.3) ความร้อนในเนื้อคอนกรีต
ซึ่งการแตกร้าวประเภทดังกล่าวนี้ก็อาจจะสามารถทำการจำแนกออกได้ตามระยะเวลาที่เกิดขึ้นก็ได้นะ โดยที่อาจจะแบ่งออกได้เป็น การแตกร้าวก่อนคอนกรีตแข็งตัว และ การแตกร้าวหลักจากคอนกรีตแข็งตัวแล้ว นั่นเองครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันจันทร์
#ความรู้ที่มีประโยชน์เพื่อคุณผู้หญิง
#คุณสมบัติเรื่องการแตกร้าวที่เกิดขึ้นในคอนกรีต
#ครั้งที่1
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
ต้องการตอกเสาเข็ม
สปันไมโครไพล์
ปรึกษาทีมงาน
สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447 (คุณจิน)
☎️ 082-790-1448 (คุณสปัน)
☎️ 082-790-1449 (คุณปุ๊ก)
☎️ 091-9478-945 (คุณสปัน)
☎️ 091-8954-269 (คุณสปัน)
☎️ 091-8989-561 (คุณมาย)
📲 https://lin.ee/hum1ua2
🎥 https://lin.ee/gN4OMZe
📥 https://m.me/bhumisiam
🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com