ความรู้ วิศวกรรมงานดินและวิธีในการอ่านข้อมูล การนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG

ความรู้ วิศวกรรมงานดินและวิธีในการอ่านข้อมูล

จริงๆ แล้วเนื้อหาของการโพสต์ในวันนี้ยังคงวนเวียนอยู่ในเรื่องเดิมๆ จากเนื้อหาของเมื่อ 2 วัน ก่อนหน้านี้นั่นก็คือ เรื่อง การที่เสาเข็มต้องรับแรงดึง นั่นเองนะครับ

โดยที่ได้มีคำถามเข้ามาจากเพื่อนๆ หลายๆ คนถามกันเข้ามาว่า เสาเข็มรับแรงดึงนั้นพอเข้าใจ แต่ ว่าตัวของ ดิน เองนั้นจะสามารถรับ แรงดึง ที่เกิดขึ้นได้ด้วยหรือ ?

ในเมื่อวันนี้เป็นเนื้อหาการโพสต์ที่ว่าด้วยเรื่องของวิศวกรรมงานดินเป็นหลัก ผมจึงนำเอาคำตอบของคำถามๆ นี้มาแทรกเนื้อหา และ ทำการตอบให้แก่เพื่อนๆ ทุกๆ คนได้รับทราบไปพร้อมๆ กันนะครับ

ใช่ครับ ดิน นั้นสามารถที่จะรับ แรงดึง ได้นะครับ ซึ่งก็จะคล้ายๆ กันกับหลักการทางด้านการคำนวณหาค่าการรับแรงอัดของเสาเข็มทั่วๆ ไปว่า แรงดึง ที่ดินจะสามารถรับได้นี้จะเป็นค่าที่ขึ้นอยู่กับ แรงฝืดที่ผิว หรือ SKIN FRICTION ที่เกิดขึ้นระหว่าง ดิน และ เสาเข็ม เป็นหลักเลย แต่ เนื่องด้วยสมการที่ใช้ในการคำนวณหาค่าทั้งสองนี้จะมีความแตกต่างกัน เลยทำให้บางครั้งค่าความสามารถในการรับ แรงดึง ของเสาเข็มหากทำการเปรียบเทียบกับความสามารถในการรับ แรงอัด ของเสาเข็มนั้นบางครั้งก็จะมีค่า เท่ากัน หรือ บางครั้งก็จะมีค่า มากกว่า ด้วยซ้ำไป !!!

ใช่ครับ เพื่อนๆ ไม่ได้อ่านประโยคข้างต้นผิดไปครับ นั่นเป็นเพราะ สมการในการคำนวณหาค่า แรงดึง ที่ยอมให้ของเสาเข็มนั้นมีค่าเท่ากับ

Qt = (Qf/FS) + Wp

ส่วนสมการในการคำนวณหาค่า แรงอัด ที่ยอมให้ของเสาเข็มนั้นจะมีค่าเท่ากับ

Qa = [(Qf + Qe)/FS] – NF – Wp

โดยที่

Qt คือ ค่าแรงดึงที่ยอมให้ของเสาเข็ม

Qa คือ ค่าแรงอัดที่ยอมให้ของเสาเข็ม

Qf คือ ค่าแรงฝืดประลัยที่ผิวของเสาเข็ม

Qe คือ ค่าแรงอัดประลัยที่ปลายของเสาเข็ม

NF คือ ค่าแรงฉุดของเสาเข็ม

Wp คือ ค่าน้ำหนักของตัวเสาเข็ม

FS คือ ค่าสัดส่วนความปลอดภัยที่นำมาใช้ในการคำนวณ

ซึ่งหลักๆ แล้วเราจะพบเห็นได้ว่าในสมการๆ คำนวณหาค่าความสามารถในการรับแรงดึงของเสาเข็มนั้นจะมีทั้งหมดเพียง 2 เทอมหลักๆ และ แต่ละเทอมก็จะทำการบวกกันทั้งหมดเลยนะครับ

ซึ่งจะตรงกันข้ามกับการคำนวณหาค่าความสามารถในการรับแรงอัดของเสาเข็มซึ่งจะมีอยู่ทั้งหมด 4 เทอม ด้วยกันและ บางเทอมเมื่อนำมาคำนวณแล้วยังต้องทำการลบออกด้วยซ้ำไปน่ะครับ

เพราะฉะนั้นประเด็นเรื่อง ดิน นั้นจะสามารถรับแรงดึง ได้ หรือ ไม่ วันนี้ผมคิดว่าผมน่าที่จะตอบได้อย่างชัดเจนและตรงไปตรงมาที่สุดแล้วนะครับว่าเป็นอย่างไรนะครับ

เอาเป็นว่าในโอกาสต่อๆ ไปผมจะขออนุญาตมาทำการขยายความในส่วนๆ นี้ให้ลึกและละเอียดมากยิ่งขึ้นไปอีกก็แล้วกัน และ หากว่ามีเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษ ก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความนี้ของผมได้ในโอกาสหน้านะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN

Bhumisiam ภูมิสยาม
ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
2) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
4) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
5) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
6) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
7) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
8) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
9) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
10) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
Mr.Micropile

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
☎ 081-634-6586
☎ 082-790-1447
☎ 082-790-1448
☎ 082-790-1449

#ไมโครไพล์ #สปันไมโครไพล์ #เสาเข็มไมโครไพล์ #เสาเข็มสปันไมโครไพล์ #เสาเข็ม #ตอกเสาเข็ม #micropile #spunmicropile #microspunpile #spunpile #microspun