ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่อยู่ เหนือพื้นดินขึ้นมา และ ใต้พื้นดินลงไป
วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่อยู่ เหนือพื้นดินขึ้นมา และ ใต้พื้นดินลงไป มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ
วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการพูดถึงเรื่อง ความหนาน้อยที่สุดสำหรับแผ่นพื้นชนิดวางตัวอยู่บนคานที่เป็น แผ่นพื้นทางเดียว และ แผ่นพื้นสองทาง ให้แก่เพื่อนๆ ทุกๆ คนได้รับทราบกันนะครับ
โดยที่ผมต้องขออธิบายก่อนนะครับว่าสาเหตุที่ข้อกำหนดในการออกแบบได้กำหนดให้เราต้องทำการคำนวณหาค่าความหนาน้อยที่สุดของทั้งแผ่นพื้นทางเดียวและแผ่นพื้นสองทางนั่นเป็นเพราะว่า การคำนวณหาค่าการเสียรูปของโครงสร้างคอนกรีตนั้นสามารถที่จะทำได้แต่ก็ค่อนข้างยากเอาเรื่องอยู่ ข้อกำหนดการออกแบบจึงได้มีแนวคิดว่า หากผู้ออกแบบกำหนดให้ใช้ขนาดความหนาของแผ่นพื้นให้มีค่ามากกว่าค่าความหนาน้อยที่สุดที่ได้ให้ไว้เป็นแนวทางในข้อกำหนดนี้แล้ว ผู้ออกแบบก็อาจที่จะไม่จำเป็นต้องทำการคำนวณหาค่าการเสียรูปของโครงสร้างแผ่นพื้นนี้ก็ได้นั่นเองครับ
อย่างไรก็ดีผมก็อยากจะเน้นย้ำเอาไว้ตรงนี้สักเล็กน้อยนะครับว่า การไม่คำนวณหาค่าการเสียรูปของแผ่นพื้นนั้นสามารถที่จะทำได้แต่แผ่นพื้นนั้นๆ ก็ต้องมีลักษณะต่างๆ เป็นไปตามปกติด้วย เช่น มีลักษณะช่วงและความยาวของพื้นที่ปกติ มีลักษณะของการรับน้ำหนักในปริมาณที่ปกติ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นปกติ เป็นต้น เอาละ เรามาเริ่มต้นที่แผ่นพื้นทางเดียวก่อนก็แล้วกัน ยังไงผมขอให้เพื่อนๆ ดูรูปประกอบนะครับ
หากผมกำหนดให้ค่า Ln นั้นเป็นระยะช่วงว่างการพาดของแผ่นพื้น ลักษณะของความหนาน้อยที่สุดของแผ่นพื้นทางเดียวนั้นจะขึ้นอยู่กับสภาพของการยึดรั้งของแผ่นพื้นเป็นหลัก ดังนั้นเราจึงมีวิธีการพิจารณาจากลักษณะของช่วงที่แผ่นพื้นนั้นๆ มีการยึดรั้ง เช่น แผ่นพื้นที่ไม่มีช่วงต่อเนื่องเลย ค่าระยะความหนาน้อยที่สุดจะมีค่าเท่ากับ Ln/20 หรือหากเป็น แผ่นพื้นที่มีช่วงเป็นปลายต่อเนื่อง 1 ด้าน ค่าระยะความหนาน้อยที่สุดจะมีค่าเท่ากับ Ln/24 หรือหากเป็น แผ่นพื้นที่มีช่วงเป็นปลายต่อเนื่อง 2 ด้าน ค่าระยะความหนาน้อยที่สุดจะมีค่าเท่ากับ Ln/28 หรือหากเป็น แผ่นพื้นที่มีช่วงเป็นปลายยื่น ค่าระยะความหนาน้อยที่สุดจะมีค่าเท่ากับ Ln/10 เป็นต้นนะครับ
โดยผมขอหมายเหตุไว้ตรงนี้สักนิดนะครับว่า ค่าที่แสดงอยู่ในรูปๆ นี้เป็นค่าที่อ้างอิงจากการเสริมเหล็กด้วยเหล็กข้ออ้อยที่มีค่ากำลังดึงที่จุดครากเท่ากับ 4200 KSC และหากเราไม่ได้ใช้เหล็กเสริมที่มีค่ากำลังดึงที่จุดครากเป็นค่าๆ นี้ ซึ่งอาจจะมีค่าที่สูงหรือต่ำกว่า 4200 KSC ก็ให้ทำการคูณค่าข้างต้นด้วยค่าปรับแก้ซึ่งจะมีค่าเท่ากับ R โดยที่ค่า R นั้นจะมีค่าเท่ากับ
R = 0.40 + fy / 7000
สุดท้ายสำหรับแผ่นพื้นสองทางกันบ้างนะครับ การคำนวณหาค่าความหนาน้อยที่สุดของแผ่นพื้น 2 สองทางนั้นสามารถที่จะทำได้ง่ายกว่าแผ่นพื้นทางเดียวค่อนข้างมากเพราะลักษณะของการยึดรั้งของแผ่นพื้นสองทางนั้นจะมีมากกว่าแผ่นพื้นทางเดียวอยู่แล้ว ซึ่งค่าความหนาน้อยที่สุดของแผ่นพื้นสองทางจึงมีค่าเท่ากับ เส้นรอบรูปของพื้นสองทาง ส่วนด้วย 180 นั่นเองครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ADMIN JAMES DEAN
Bhumisiam ภูมิสยาม
Bhumisiamภูมิสยาม
ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
(1) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
(2) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
(3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สมอ.
(4) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPileDia 21, 25, 30 cm.
(5) ผู้ผลิต Spun MicroPileที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
(6) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
(7) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
(8) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
(9) ผู้ผลิต Spun MicroPileแบบ “สี่เหลี่ยม”
(10) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
Mr.Micropile
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
(1) สามารถทำงานในที่แคบได้
(2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
(3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
(4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
(5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
063-889-7987
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449