การเสริมเหล็กรับแรงเฉือนภายในคานประเภทต่างๆ

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

สืบเนื่องจากประเด็นเมื่อสองสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นผมได้ทำการตอบเพื่อนวิศวกรของผมท่านหนึ่งเกี่ยวกับคำถามที่เพื่อนท่านนี้ได้สอบถามผมเข้ามาเกี่ยวกับเรื่องตำแหน่งที่ควรจะวาง TIED BEAM ว่าควรที่จะอยู่ที่บริเวณใดจึงจะเหมาะสมซึ่งผมก็ได้ตอบคำถามข้อนี้ให้ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ปรากฏว่าผมก็ยังได้รับคำถามต่อเนื่องจากคำถามข้อนี้จากเพื่อนวิศวกรท่านเดิมมาอีกว่า

 

“ขอสอบถามเกี่ยวกับเสาที่ตั้งอยู่บริเวณปลายคานในกรณีนี้เหล็กเสริมรับแรงเฉือนจะมีรายละเอียดเหมือนหูช้างไหมครับ (คือใส่เหล็กรับแรงเฉือนตามแนวนอน) ใช่หรือไม่ครับ ?”

 

จริงๆ คำถามข้อนี้เป็นคำถามที่ดี ต้องขอชมเชยคนถามด้วยที่ได้ถามคำถามที่ประโยชน์มากๆ เข้ามา เอาเป็นว่าในวันนี้ผมจะขออนุญาตให้คำแนะนำในเรื่องๆ นี้เอาไว้ดังนี้ครับ

 

สำหรับรายละเอียดของเหล็กเสริมรับแรงดัดและแรงเฉือนที่ควรจะใช้ในโครงสร้างคาน TIED BEAM จะเป็นเช่นใด ก็ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมจริงๆ ของโครงสร้างคาน TIED BEAM เป็นหลักครับ

 

เป็นอย่างไรบ้างครับ คำตอบของผมสั้นและกระชับพอมั้ยครับ ?

 

สาเหตุที่ผมพูดเช่นนี้ก็เพราะว่าโครงสร้างคาน TIED BEAM นั้นมีโอกาสที่จะมีพฤติกรรมที่เข้าข่ายเป็นคานที่จะทำหน้าที่รับแรงเฉือนได้ทั้งหมด 3 รูปแบบหลักๆ โดยที่เราจะทำการจำแนกได้จากอัตราส่วนระหว่างระยะรับแรงเฉือนต่อความลึกประสิทธิผลหรืออัตราส่วนที่พวกเรามักเรียกกันว่าอัตราส่วน a/d นั่นก็คือ

 

  1. รูปแบบของคานธรรมดา สำหรับคานประเภทนี้จะมีค่าอัตราส่วน a/d ที่มากกว่า 2.50 เมื่อคานมีลักษณะดังนี้ก็จะส่งผลทำให้คานนั้นมีพฤติกรรมในการรับแรงเฉือนที่ทำจะให้เกิดแรงดึงในแนวทแยงหรือที่เรามักเรียกกันว่า DIAGONAL SHEAR ซึ่งรูปแบบของการแตกร้าวและวิบัติตัวของคานในลักษณะแบบนี้จะไม่ได้เกิดจากผลของแรงเฉือนโดยตรงและด้วยเหตุนี้เองเราจึงมักจะเรียกคานประเภทนี้ว่า “คานทั่วๆ ไป” ซึ่งสำหรับคานประเภทนี้เราจึงสามารถที่จะทำการออกแบบได้ตามวิธีการตามปกติทั่วๆ ไปได้เลยนะครับ

 

  1. รูปแบบของคานที่จะมีความกว้างค่อนข้างน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับความลึกและมีความลึกค่อนข้างมากเมื่อเปรียบเทียบกับความยาวของช่วงคาน สำหรับคานประเภทนี้จะมีค่าอัตราส่วน a/d ที่น้อยว่า 2.00 ถึง 2.50 แต่ก็จะมีค่าๆ นี้ที่ไม่น้อยกว่า 1.00 และเนื่องจากว่าความกว้างของคานประเภทนี้มักจะมีค่าที่น้อยกว่าความลึกหรือความยาวช่วงของตัวคานค่อนข้างมากตามที่ผมกล่าวถึงข้างต้น นั่นจึงทำให้รูปทรงทางเรขาคณิตของคานแบบนี้จะมีรูปแบบตามชื่อเรียกของมันนั่นก็คือเป็น “คานลึก” นั่นจึงส่งผลทำให้คานนั้นมีพฤติกรรมในการรับแรงเฉือนแบบสองมิติ ดังนั้นสำหรับคานประเภทนี้เราจึงควรที่จะต้องทำการพิจารณาถึงการกระจายของหน่วยการยืดหดตัวที่ไม่เป็นเชิงเส้น นอกจากนี้ก็ควรที่จะต้องพิจารณารวมไปถึงเรื่องอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องด้วย เช่น การเสียรูปอันเนื่องมาจากแรงเฉือนที่จะมากกว่าคานทั่วๆ ไป การโก่งเดาะทางด้านข้าง เป็นต้นครับ

 

  1. รูปแบบของคานประเภทนี้จะมีความละม้ายคล้ายคลึงกับคานประเภทที่ 2 โดยที่ประเด็นของความแตกต่างก็คือ คานประเภทนี้จะมีค่าอัตราส่วน a/d ที่น้อยว่า 1.00 เมื่อคานมีลักษณะดังนี้ก็จะส่งผลทำให้คานนั้นมีพฤติกรรมในการรับแรงเฉือนแบบโดยตรงหรือที่เรามักเรียกกันว่า DIRECT HEAR ซึ่งรูปแบบของการแตกร้าวและวิบัติตัวของคานในลักษณะแบบนี้จะมีชื่อเรียกว่า การวิบัติเนื่องจากแรงเฉือน-เสียดทาน หรือที่เรามักเรียกกันว่า SHEAR-FRICTION FAILURE ดังนั้นสำหรับคานประเภทนี้เราจึงควรที่จะต้องทำการพิจารณาถึงการเสริมเหล็กในแนวขวางทุกๆ แนวที่มีแนวโน้มว่าแรงเฉือนชนิดนี้จะมีโอกาสเกิดขึ้นได้ครับ

 

ทั้งนี้คำอธิบายช้างต้นของผมในโพสต์ๆ นี้เป็นเพียงคำอธิบายโดยสังเขปเพียงเท่านั้น ซึ่งหากเราไม่พูดถึงคานในประเภทที่ 1 ซึ่งเป็นคานที่สามารถออกแบบให้รับแรงเฉือนได้ตามปกติทั่วๆ ไปอยู่แล้ว วิธีการที่ผมอยากจะขอแนะนำให้เพื่อนๆ ใช้ในการจำลองเพื่อที่จะทำการออกแบบคานทั้งในประเภทที่ 2 และ 3 นั่นก็คือ การตั้งสมมติฐานโดยการพิจารณาให้โครงสร้างคานของเราให้เสมือนเป็นโครงสร้างโครงข้อหมุนและเมื่อเราใช้สมมตินี้ในการจำลองโครงสร้างของคานเราก็จะได้แรงกระทำในลักษณะที่เป็นท่อนรับแรงอัดหรือ COMPRESSION STRUD และแรงกระทำในลักษณะที่เป็นท่อนรับแรงดึงหรือ TENSION STRUD หรือว่า TIE STRUD ซึ่งวิธีการออกแบบนี้ก็มีชื่อเรียกเหมือนกันกับพฤติกรรมข้างต้นของมันนั่นก็คือ STRUT-AND-TIE METHOD นั่นเองครับ

 

ซึ่งข้อดีของการที่เพื่อนๆ นำเอาหลักการๆ นี้ไปใช้ในการออกแบบคานทั้งในประเภทที่ 2 และ 3 นั่นก็คือ เราจะสามารถลดความยุ่งยากซับซ้อนในการที่จะต้องหาปริมาณของเหล็กเสริมรับแรงเฉือนรวมไปถึงตำแหน่งที่มีความเหมาะสมในการที่จะทำการเสริมเหล็กรับแรงเฉือนลงไปได้มากโขเลย แต่ ทั้งนี้ก็ต้องไม่ลืมที่จะทำการพิจารณาถึงองค์ประกอบหลักๆ ของคานแต่ละประเภทให้มีความครบถ้วนด้วย เช่น เหล็กเสริมหลักและเหล็กเสริมพิเศษที่ทำหน้าที่ในการรับแรงดัด เหล็กเสริมหลักและเหล็กเสริมพิเศษที่ทำหน้าที่ในการรับแรงเฉือน เป็นต้นครับ

 

จริงๆ ก่อนหน้านี้ผมเคยได้พูดถึงประเด็นต่างๆ ในเรื่องๆ นี้ไปบ้างแล้วในโพสต์ก่อนหน้านี้ เอาเป็นว่าหากทุกอย่างอำนวยและสะดวก ผมจะขออนุญาตนำเอาเรื่องๆ นี้มาพูดถึงเพิ่มเติมเพื่อเป็นการขยายความถึงเรื่องวิธีการออกแบบ STRUT-AND-TIE METHOD ให้เพื่อนๆ ทุกคนได้รับทราบกันเพิ่มเติม ยังไงหากเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษ ก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความของผมเกี่ยวกับเรื่องๆ นี้ได้ในโอกาสต่อๆ ไปนะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ

#ตอบปัญหาเรื่องการเสริมเหล็กรับแรงเฉือนภายในคานประเภทต่างๆ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com