หลังคาเพิง หรือ ภาษาชาวบ้านก็มักจะเรียกกันง่ายๆ ว่า หลังคาทรงหมาแหงน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง เหล็ก (STRUCTURAL STEEL ENGINEERING DESIGN หรือ SCE) นะครับ

หากเพื่อนๆ สังเกตกันสักนิดว่าในปัจจุบันสิ่งหนึ่งที่เรามักจะพบในบ้านที่มีรูปแบบที่ทันสมัยหรือที่เรามักจะเรียกกันจนติดปากว่า บ้านสไตล์โมเดิร์น นั่นก็คือ หลังคาเพิง หรือ ภาษาชาวบ้านก็มักจะเรียกกันง่ายๆ ว่า หลังคาทรงหมาแหงน ซึ่งเอกลักษณ์อย่างหนึ่งที่สถาปนิกมักจะ นิยม และ เน้น เวลาทำการออกแบบหลังคาทรงนี้ก็คือ ความบาง ของตัวหลังคานั่นเองนะครับ

 

ดังนั้นในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการให้คำแนะนำถึงเทคนิคในการออกแบบโครงหลังคาทรงหมาแหงนที่มีลักษณะบางๆ ดังกล่าวให้แก่เพื่อนๆ ได้รับทราบกันนะครับ

 

ก่อนที่ผมจะพูดถึงหลังคาทรงดังกล่าวนี้ ผมก็จะขอเริ่มต้นพูดถึงโครงหลังคาทรงทั่วๆ ไปที่เราพบเห็นได้ทั่วๆ ไปก่อนก็แล้วกันนะครับ

 

สำหรับหลังคาทรงทั่วๆ ไปเวลาที่เราทำการออกแบบคานรับหลังคาเรามักจะต้องทำการถ่าย นน จากหลังคา วัสดุมุง หรือ นน อะไรก็แล้วแต่ที่ห้อยลงมาจากหลังคาในแนวดิ่ง ให้ลงมายังคานรับหลังคาหมายเลข 1 ซึ่งเราก็มักจะเรียกโครงสร้างคานนี้ว่า แป นะครับ จากนั้นตัวโครงสร้าง แป ก็จะถูกพาดวางอยู่ที่ด้านบน หรือ ถ่าย นน ต่อลงไปบนคานรับหลังคาหมายเลข 2 ซึ่งเราก็มักจะเรียกโครงสร้างคานนี้ว่า จันทัน นะครับ

 

ดังนั้นสำหรับหลังคาทั่วๆ ไปเรามักจะพบว่า การออกแบบนั้นสามารถที่จะถ่าย นน ต่อๆ กันลงมาทีละขั้นทีละตอนได้ เพราะ ลักษณะการวางตัวของโครงสร้างนั้นค่อนข้างที่จะเห็นได้อย่างชัดเจนอยู่แล้วนะครับ แต่ สำหรับกรณีของหลังคาทรงหมาแหงนที่จะมีลักษณะบางๆ ที่ส่วนโครงสร้าง แป กับ จันทัน นั้นจะวางตัวอยู่ในระนาบเดียวกัน (เหมือนในรูป) เราจะมีวิธีในการออกแบบอย่างไรละครับ ?

 

คำตอบก็คือ แทนที่เราจะใช้วิธีในการวิเคราะห์โครงสร้างโดยการถ่าย นน ต่อกันลงมาทีละขั้นทีละตอนเหมือนในการออกแบบหลังคาทั่วๆ ไปเราก็จะเปลี่ยนเทคนิคในการวิเคราะห์โครงสร้างมาใช้เป็น ระบบคานตะแกรง หรือ ที่เรามักเรียกกันว่า GRID BEAM SYSTEM นั่นเองนะครับ

 

ทั้งนี้ นน ที่ถูกถ่ายต่อลงไปยังโครงสร้างที่ทำหน้าที่เป็น แป ที่คอยยึดวัสดุมุงหลังคา หรือ นน ในแนวดิ่ง ก็ยังคงเป็น นน ทางเดียว หรือ ONE WAY LOADING เหมือนเดิมนะครับ สิ่งที่จะเปลี่ยนไปสำหรับ ระบบคานตะแกรง ก็คือ ลักษณะของการเกิดผลตอบสนองในโครงสร้างนั้นจะมีความแตกต่างออกไปจากระบบหลังคาปกติ นั่นก็คือผลตอบสนองต่างๆ ของโครงสร้างนั้นจะขึ้นอยู่กับ 2 อย่างเป็นหลัก นั่นก็คือ

 

  1. ค่าสัดส่วนของความแข็งแกร่งของการดัด หรือ BENDING STIFFNESS RATIO ระหว่างโครงสร้าง แป และ จันทัน

 

  1. ลักษณะทางกายภาพของการทำรายละเอียดของ จุดต่อของโครงสร้าง และ จุดรองรับของโครงสร้าง (BOUNDARY CONDITIONS)

 

เอาเป็นว่าผมจะหาโอกาสมาทำการยก ตย ถึงกรณีการวิเคราะห์โครงสร้างหลังคาในลักษณะแบบนี้เพิ่มเติมให้แก่เพื่อนๆ ได้รับทราบกันบ้างในโอกาสต่อๆ ไปก็แล้วกันนะครับ เพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจเป็นพิเศษในหัวข้อๆ นี้ก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความของผมเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวนี้ได้นะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com