วิธีวิเคราะห์ คานใดที่มีลักษณะของพฤติกรรมเป็นคานรับแรงดัด “แบบปกติ” หรือ “แบบลึก”

วิธีวิเคราะห์คาน ในรูปแบบต่าง ๆ


สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่านพบกันอีกครั้งในช่วงบ่ายของวันเสาร์แบบนี้นะครับ เหมือนเช่นเคยในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการเฉลยคำถามประจำสัปดาห์ โดยที่คำถามประจำสัปดาห์ในวันนี้จะมีความเกี่ยวข้องกับหัวข้อในวันอังคารที่ผ่านมาซึ่งมีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ โดยที่รายละเอียดของปัญหาที่ผมได้เลือกหยิบยกเอามาถามเพื่อนๆ ในวันนี้นั้นค่อนข้างที่จะมีความง่ายดายมากๆ เลย ซึ่งจะมีรายละเอียดของคำถามดังต่อไปนี้ครับ

จะเห็นได้ว่าคานทั้ง 3 ในรูปๆ นี้จะมีขนาดของคานและเสาที่ทำหน้าที่รองรับคาน รวมไปถึงระยะความยาวช่วงระหว่างศูนย์กลางถึงศูนย์กลางของจุดรองรับที่เท่าๆ กัน โดยจะแตกต่างกันเฉพาะลักษณะของน้ำหนักบรรทุกที่กระทำอยู่บนคาน ดังนั้นผมอยากที่จะสอบถามเพื่อนๆ ว่า คานหมายเลขใดที่ถูกจัดว่ามีพฤติกรรมเป็นคานรับแรงดัด “แบบปกติ” และคานใดที่เข้าข่ายว่ามีพฤติกรรมเป็นคานรับแรงดัด “แบบลึก” ?

หลักการของการจะวิเคราะห์ดูว่าคานใดที่มีลักษณะของพฤติกรรมเป็นคานรับแรงดัด “แบบปกติ” หรือ “แบบลึก” มีวิธีการสังเกตง่ายๆ ก็ตามที่ผมได้ให้คำแนะนำไปเมื่อในสัปดาห์ที่ผ่านมานั่นก็คือ จำแนกก่อนว่าลักษณะคานของเรานั้นมีการรับแรงในลักษณะใดเป็นหลัก เช่น แรงกระทำแบบแผ่กระจายตัวสม่ำเสมอ (UNIFORMLY DISTRIBUTED FORCE) หรือ แรงกระทำแบบจุด (CONCENTRATED LOAD) เป็นต้น จากนั้นก็ให้เราทำการตรวจสอบและคำนวณ ค่าสัดส่วนของความลึก หรือ DEPTH RATIO ว่ามีค่าสัดส่วนเป็นไปตามที่ผมได้ให้คำแนะนำเอาไง้หรือไม่

ทั้งนี้หากว่าคานของเรามีลักษณะของการรับแรงเป็นไปในลักษณะแบบผสมผสานกัน กล่าวคือในคานหนึ่งคานนั้นจะประกอบไปด้วย แรงกระทำแบบแผ่กระจายตัวสม่ำเสมอ และ แรงกระทำแบบจุด เราก็เพียงแค่ทำการคำนวณด้วย DEPTH RATIO ข้างต้น เมื่อคำนวณเสร็จแล้วเราอาจจะพบว่าค่า DEPTH RATIO หนึ่ง DEPTH RATIO ใดที่แสดงผลให้เราเห็นว่าคานของเราเข้าข่ายเป็นคานลึก ก็ให้ถือว่าคานนั้นเป็นคานลึกนั่นเองครับ

โดยที่ผมขออนุญาตทำการสรุปคำตอบของปัญหาข้อนี้ดังนี้ จากผลการวิเคราะห์ค่า DEPTH RATIO ของคานทั้ง 3 ในรูปๆ นี้ก็จะถือได้ว่าคานทั้ง 3 เป็น คานลึก ทั้งหมดทุกๆ คานเลยนะครับ 

เป็นอย่างไรบ้างครับ ปัญหาประจำสัปดาห์นี้ง่ายจริงๆ ใช่หรือไม่ครับ เอาเป็นว่าเพื่อนๆ สามารถที่จะดูเฉลยในเรื่องรายละเอียดของการคำนวณได้จากรูปในโพสต์ๆ นี้ได้เลยนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์ของวันอาทิตย์
#การตอบคำถามทางวิชาการประจำสัปดาห์
#เฉลยคำถามประจำสัปดาห์เกี่ยวกับเรื่องวิธีในการจำแนกโครงสร้างคานที่มีพฤติกรรมเป็นแบบปกติและแบบลึก

ADMIN JAMES DEAN
Bhumisiam ภูมิสยาม

Bhumisiamภูมิสยาม
ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
(1) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
(2) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
(3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สมอ.
(4) ได้รับมาตรฐาน มอก. ‭397-2524‬ เสาเข็ม Spun MicroPileDia 21, 25, 30 cm.
(5) ผู้ผลิต Spun MicroPileที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
(6) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
(7) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
(8) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
(9) ผู้ผลิต Spun MicroPileแบบ “สี่เหลี่ยม”
(10) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
Mr.Micropile

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
(1) สามารถทำงานในที่แคบได้
(2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
(3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
(4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
(5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
‭‭063-889-7987‬‬‬
‭082-790-1447‬
‭082-790-1448‬
‭082-790-1449‬