ระยะคอนกรีตหุ้มผิวเหล็ก (CONCRETE COVERING) มีระยะต่ำสุดที่เท่าไหร่

ระยะคอนกรีตหุ้มผิวเหล็กหรือระยะหุ้มของคอนกรีต (Concrete Covering) ก็คือระยะของคอนกรีตที่ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เหล็กเสริมสัมผัสกับน้ำหรืออากาศโดยตรงเพื่อทำหน้าที่ป้องกันการกัดกร่อนของสารเคมี หรือป้องกันไม่ให้เหล็กเสริมทำปฏิกิริยากันเหล็กเสริมจนทำให้เกิดสนิมขุม และทำให้โครงสร้างสูญเสียความสามารถในการรับกำลังในที่สุด ทั้งนี้การวัดความหนาของระยะคอนกรีตหุ้มผิวเหล็กหรือระยะหุ้มของคอนกรีต ให้วัดจากผิวด้านนอกของคอนกรีตลึกเข้าไปจนถึงผิวด้านนอกของเหล็กปลอก (ในกรณีที่ไม่มีเหล็กปลอกก็ให้วัดถึงผิวของเหล็กเสริมเส้นนอกสุด)

สำหรับระยะห่างระหว่างเหล็กเสริมนั้น ACI กำหนดให้ระยะช่องว่างน้อยที่สุดระหว่างเหล็กเสริมเท่ากับค่าที่มากกว่าของเส้นผ่าศูนย์กลางเหล็กเสริม DB, 2.5 ซ.ม. และ 1.33 เท่าของขนาดมวลรวมโตสุด โดยเหล็กนอนในคานทั้งหมดจะถูกห่อหุ้มโดยเหล็กปลอก

ระยะหุ้มคอนกรีตต่ำสุดที่ ACI กำหนดไว้ ดังนี้

  • คอนกรีตหล่ออยู่บนหรือในพื้นดินถาวร ระยะหุ้มคอนกรีตน้อยที่สุด 7.5 ซม.
  • คอนกรีตหล่อบนพื้นดินหรือสภาพอากาศภายนอก :
    • เหล็กเสริม DB20 และใหญ่กว่า ระยะหุ้มคอนกรีตน้อยที่สุด 5 ซม.
    • เหล็กเสริม DB16 และน้อยกว่า ระยะหุ้มคอนกรีตน้อยที่สุด 4 ซม.
  • คอนกรีตไม่สัมผัสพื้นดินหรือสภาพอากาศภายนอก :
    • พื้น, ผนัง, คานย่อย ระยะหุ้มคอนกรีตน้อยที่สุด 2 ซม.
    • คาน, เสา ระยะหุ้มคอนกรีตน้อยที่สุด 4 ซม.

เครดิต – หนังสือการออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธีกำลัง SDM โดย Dr.Mongkol Jirawacharadet

micropile-footing