สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ
โดยที่ปัญหาในวันนี้ที่ผมจะนำมาหยิบยกและพูดคุยกับเพื่อนๆ นั้นมาจากรุ่นน้องของผมในเฟซบุ้คท่านหนึ่งที่ได้สอบถามผมเข้าในอินบ็อกซ์ส่วนตัวว่า
“ก่อนหน้านี้เห็นว่าอาจารย์สมพรรวมถึงอาจารย์หลายๆ ท่านซึ่งก็รวมถึงผมด้วยที่มักพูดถึงเรื่องจุดรองรับแบบที่สามารถมีการเสียรูปได้หรือ FLEXIBLE SUPPORT อยากจะทราบว่าเพราะเหตุใดเราจึงจะทำการพิจารณาให้จุดรองรับนั้นเป็นจุดรองรับแบบที่ไม่มีการเสียรูปหรือ RIGID SUPPORT เลยไม่ได้ละครับ ?”
จริงๆ แล้วคำตอบข้อนี้ง่ายๆ มากๆ เลย ง่ายจนบางครั้งผมคิดว่าไม่อยากที่จะตอบเลย อยากปล่อยให้ผู้ถามมีโอกาสได้ไปเจอกรณีของปัญหาลักษณะแบบนี้ด้วยตัวเอง เผื่อว่าวันหนึ่งอาจจะได้เจอแล้วจะทำให้เกิดความเข้าใจถึงคำตอบได้อย่างลึกซึ้งด้วยตัวเอง แต่เอาละไม่เป็นไรครับ ผมจะขอนำมาตอบให้ในเพจๆ นี้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่น้องท่านนี้และเพื่อนๆ ทุกๆ คน
สำหรับสาเหตุของการที่เรามีความจำเป็นที่จะต้องทำการจำลองให้จุดรองรับนั้นเป็นแบบที่สามารถมีการเสียรูปได้นั้นมีอยู่ด้วยกันหลายสาเหตุแต่ในที่นี้ผมขออนุญาตยกมาเพียง 3 ข้อสำคัญๆ นั่นก็คือ
ประการที่ 1
หากเพื่อนๆ ทราบว่าจุดรองรับของเรานั้นไม่ใช่จุดรองรับแบบที่ไม่มีการเสียรูปเลยแต่เป็นจุดรองรับแบบที่สามารถมีการเสียรูปได้แล้วอะไรคือเหตุผลที่เราจะต้องทำการจำลองโครงสร้างให้ไม่ตรงกับพฤติกรรมจริงๆ ละครับ ? ในเมื่อเราทราบดีอยู่แล้วว่าคำตอบที่จะได้จะไม่ตรงตามพฤติกรรมจริงๆ ของโครงสร้างเพราะฉะนั้นหากเราเป็นวิศวกรผู้ออกแบบที่มีความต้องการที่จะทำการออกแบบให้โครงสร้างนั้นมีความปลอดภัยและประหยัดแล้ว เราก็ต้องย่อมมีความต้องการที่จะทำการจำลองให้โครงสร้างของเรานั้นมีพฤติกรรมตรงตามสภาพความเป็นจริง ถูกต้องหรือไม่ครับ ?
ประการที่ 2
ข้อนี้จะเกี่ยวพันกันกับข้อที่ 1 นั่นก็คือ หากเราทราบว่าจุดรองรับของเรานั้นเป็นแบบที่สามารถมีการเสียรูปได้เราก็ย่อมต้องมีความอยากที่จะทราบว่าลักษณะของเสียรูปที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเช่นใด ถูกต้องหรือไม่ครับ ? เช่น จุดรองรับของเรานั้นจะมีค่าเสียรูปไปเท่ากับเท่าใด ? ค่าการเสียรูปดังกล่าวนั้นเกินค่าการเสียรูปที่ยอมให้หรือไม่ ? หากว่าค่าการเสียรูปที่เกิดขึ้นนั้นมากเกินไป เราก็จะได้สามารถทำการปรับระบบต่างๆ ของโครงสร้างให้ดียิ่งขึ้น เป็นต้น
ประการที่ 3
ข้อนี้ก็ยังจะเกี่ยวพันกันกับข้อที่ 1 อยู่ดีนั่นก็คือ หากเพื่อนๆ สังเกตดูจากในรูป เพื่อนๆ จะเห็นได้ว่ารูปบนเป็นโครงสร้างคานต่อเนื่องที่มีการจำลองจุดรองรับให้เป็นแบบที่ไม่มีการเสียรูปเลยส่วนรูปล่างจะเป็นการจำลองจุดรองรับให้เป็นแบบที่สามารถมีการเสียรูปได้ เพื่อนๆ จะได้จากรูปผลตอบสนองของโครงสร้างซึ่งก็คือ การเสียรูปและการดัดตัวของโครงสร้างคาน เพื่อนๆ จะเห็นได้จาก CURVATURE ของคานในรูปบนและรูปล่างนั้นจะมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงเลยนั่นก็คือ รูปบน CURVATURE จะเกิดการดัดตัวเป็นแบบ DOUBLE CURVATURE หรือพูดง่ายๆ คือ เกิดการโก่งตัวในสองทิศทาง ซึ่งแต่ละ CURVATURE ที่เกิดขึ้นก็จะมีขนาดที่ค่อนข้างเล็ก ในที่สุดก็จะทำให้ค่าแรงดัดที่เกิดขึ้นในคานภายในรูปๆ นี้นั้นมีค่าที่น้อยตามไปด้วย ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะจุดรองรับของเรานั้นไม่มีการเสียรูปเลย ส่วนรูปล่าง CURVATURE จะเกิดการดัดตัวเป็นแบบ SINGLE CURVATURE หรือพูดง่ายๆ คือ เกิดการโก่งตัวทิศทางเดียว ซึ่ง CURVATURE ที่เกิดขึ้นก็จะมีขนาดใหญ่มาก ในที่สุดก็จะทำให้ค่าแรงดัดที่เกิดขึ้นในคานภายในรูปๆ นี้นั้นมีค่าที่มากตามไปด้วย ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะจุดรองรับของเรานั้นสามารถที่จะเกิดการเสียรูปได้นั่นเองครับ
เอาเป็นว่าวันพรุ่งนี้ผมต้องขออนุญาตมาทำการพูดถึงประเด็นๆ นี้ต่อกันอีกสักหนึ่งโพสต์ โดยที่ผมจะนำเอาปัญหาจริงๆ เกี่ยวกับประเด็นๆ นี้มาทำการยกตัวอย่างให้แก่เพื่อนๆ ได้รับชมกัน หากว่าเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความนี้ของผมกันได้นะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ
#ปัญหาเหตุใดจึงต้องทำการจำลองให้จุดรองรับนั้นเป็นแบบที่ไม่มีการเสียรูปกับแบบที่สามารถมีการเสียรูปได้ครั้งที่1
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586
? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com